Page 135 - kpi20756
P. 135
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 1
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
ได้อธิบายถึงบทบาทของนักการเมืองในสภาบางส่วนของงานเช่นกัน นอกจากนั้นแล้วยังมีข้อสรุป
ที่น่าสนใจว่า ความรู้สึกที่เป็นชาติพันธุ์เดียวกันยังส่งผลต่อการเลือกผู้แทนด้วยเช่นกัน การที่
กลุ่มชาติพันธุ์ถูกกดทับก็อาจส่งผลต่อความรู้สึกร่วมของการเป็นผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติจากรัฐ กระทั่ง
ในที่สุดบางคนก็เลือกไปใช้วิถีทางทหาร บ้างก็ขยับเดินงานเพื่อสังคม ขณะที่อีกหลายคนก็เลือก
ที่จะตอบโต้กลับผ่านลงเสียงในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง แต่เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นจะส่งผลให้ผู้คน
เลือกใช้วิธีการในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในแบบสันติวิธีมากกว่าการหันไปใช้ความรุนแรง เพื่อ
ให้หลีกเลี่ยงจากความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เป็นอยู่ งานชิ้นนี้ยังชี้ให้เห็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ
คือ ยิ่งมีความรุนแรงสูงขึ้นในช่วงใด ก็จะยิ่งทำให้เห็นอัตราส่วนของผู้คนที่ออกไปใช้สิทธิมากขึ้น
งานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ ยังมีงานของ James Ockey (โอกีย์, 2560) เรื่อง “การเลือกตั้ง
และบูรณาการทางการเมืองในภาคใต้ของไทย” ในหนังสือ ไทยใต้ มลายูเหนือ: ปฏิสัมพันธ์ทาง
ชาติพันธุ์บนคาบสมุทรแห่งความหลากหลาย ซึ่งเป็นอีกชิ้นงานชิ้นแรกๆ ที่วิเคราะห์ในเห็น
พัฒนาการของการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักการเมืองมลายูมุสลิมตั้งแต่อดีต กระทั่งถึงช่วงต้นของ
ช่วงเวลาในการเกิดความรุนแรง ชุดหนังสือที่ว่าด้วยนักการเมืองท้องถิ่นทั้งสามจังหวัดที่แยก
อธิบายจังหวัดละเล่ม ซึ่งสนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้าเขียนโดย บูฆอรี ยีหมะ (2549;
2555) และรุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์ (2558) ก็เป็นอีกหนึ่งชุดหนังสือสำคัญที่แม้จะกล่าวถึง
นักการเมืองท้องถิ่นแต่ก็ได้มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองระดับชาติที่เป็นตัวแทนจาก
พื้นที่ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นงานชิ้นที่เป็นที่รู้จักกันดีของดันแคน
แม็คคาร์โก เรื่อง ฉีกแผ่นดิน (2557) ก็ได้กล่าวบางส่วนถึงเรื่องของการเคลื่อนไหวของ
นักการเมืองในพื้นที่เช่นเดียวกัน ซึ่งในงานของแม็คคาร์โก ได้ระบุผลของงานวิจัยของเขา
ในประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยชิ้นนี้คือ เรื่องของความรู้สึกของคนในพื้นที่ที่มองว่า
“การเมืองท้องถิ่นควรจะมาจากกลุ่มมลายูมุสลิมเป็นหลักและควรวางนโยบายที่เหมาะสมกับ
ลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของพื้นที่ ส่วนนักการเมืองในระดับชาติที่ได้รับเลือกตั้งมาจากสามจังหวัด
แห่งนี้ควรเป็นมลายูมุสลิมในพื้นที่ซึ่งสามารถเป็นตัวแทนที่เป็นปากเสียงให้ประชากรในพื้นที่ได้
อย่างเต็มที่ทั้งยังควรมีกลุ่มหรือพรรคการเมืองของตัวเองซึ่งจะเป็นฐานในการต่อรองกับทาง
กรุงเทพฯ” (สมัชชา นิลปัทม์, 2556) นอกจากนั้น แม็คคาร์โก ยังได้สรุปลักษณะของนักการเมือง
ที่เป็นอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้อย่างน่าสนใจว่า 1. เชื้อสายเจ้าเมืองเก่า 2. ใช้ความทุกข์
ยากและการต่อสู้ดิ้นรนของครอบครัว 3. เน้นความมีศีลธรรมและคุณธรรมส่วนตัว 4. ใช้ความ
ทุกข์ยากและการต่อสู้ดิ้นรนส่วนบุคคล 5. การอุทิศตนให้แก่ผลประโยชน์ของท้องถิ่นและ
การบริการชุมชน 6. สถานภาพด้านศาสนา และ 7. เป็นชาวพุทธผู้จริงใจและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ขณะเดียวกัน วิทยานิพนธ์ของอิมรอน ซาเหาะ (2558) เรื่อง “แนวคิดอิสลามการเมือง
และสันติภาพของพรรคการเมืองมุสลิมในประเทศไทย” ซึ่งได้ศึกษาแนวคิดของกลุ่ม
พรรคการเมืองมุสลิมเล็กๆ ที่ตั้งขึ้น และได้เสนอแนะในส่วนหนึ่งของงานว่า แนวทางการเมือง
อาจเป็นแนวทางเลือกสำหรับการเคลื่อนไหวที่ปราศจากความรุนแรงของพื้นที่ชายแดนใต้ได้ นับว่า
เป็นข้อเสนอแนะสำคัญที่งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการสานต่อเพื่อให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น กรอบแนวคิดเรื่อง
เกี่ยวกับ “นักการเมือง” และอิสลามกับการเมือง จะเป็นกรอบคิดหลักที่ผลักงานชิ้นนี้ให้เริ่มเดิน เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2