Page 136 - kpi20756
P. 136
1 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
แล้วหนุนเสริมด้วยกรอบแนวคิดที่ว่าด้วยกระบวนการทำให้เป็นการเมืองที่เชื่อมโยงเข้ากับ
การแปรเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งมุ่งเน้นในการทำความเข้าใจเรื่อง
การปะทะ ต่อรอง รวมถึงจุดที่แปรเปลี่ยนความขัดแย้งที่ใช้อาวุธให้กลายเป็นประเด็นการเรียกร้อง
ทางการเมืองโดยใช้แนวทางทางการเมืองแทนการใช้อาวุธ
จากงานทั้งหมดข้างต้นจะพบว่า งานชิ้นนี้แตกต่างจากงานที่กล่าวไปแล้วข้างต้น คำถามของ
วิทยานิพนธ์ของดวงยิหวาและธนิกุล มุ่งที่จะมองไปสู่การมีส่วนร่วมทางการเมืองและพฤติกรรม
การเลือกทางการเมืองของผู้คนในพื้นที่ ขณะที่งานของ Ockey ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของ
นักการเมืองแต่หยุดลงที่ช่วงต้นของความรุนแรง เฉกเช่นเดียวกับชุดหนังสือนักการเมืองท้องถิ่น
ของสถาบันพระปกเกล้าที่มุ่งเน้นนำเสนอข้อมูลภาพกว้างของนักการเมือง งานวิจัยที่ได้ศึกษา
เอาไว้จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการสานต่อเรื่องราวที่งานวิจัยชิ้นต่างๆ ที่ระบุไว้ได้ศึกษามา โดยมุ่งเน้น
ศึกษาผ่านกรอบช่วงของความรุนแรงที่จะทำให้เห็นถึงพลวัตของนักการเมืองในพื้นที่ จากข้อมูล
ทางประวัติศาสตร์ผ่านงานหลายๆ ชิ้นที่กล่าวถึงไปแล้วข้างต้นชี้ให้เห็นว่า มีนักการเมืองมลายู
มุสลิมที่เคยเข้าสู่ระบบรัฐสภา แต่กลับกลายเป็นความผิดหวังและหันไปตั้งขบวนการติดอาวุธ
ตลอดจนเรื่องราวของนักการเมืองที่เมื่อเข้าสู่พื้นที่ทางการเมือง แต่ก็ยังถูกมองว่ามีความข้อง
เกี่ยวกับกลุ่มติดอาวุธ หากทว่านักการเมืองเหล่านี้ก็ยังคงเดินอยู่ในสายการเมืองผ่านการเลือกตั้ง
ต่อไป ขณะเดียวกันในห้วงเวลาของความรุนแรงยังมีการแสดงออกของประชาชนที่มีผ่านการเลือกตั้ง
ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนหน้าตาของนักการเมืองในพื้นที่จนกระทั่งนักการเมืองต้องปรับตัวและ
ปรับกลยุทธ์เพื่อเข้าถึง อย่างไรก็ตามในบทความชิ้นนี้จะมุ่งเน้นไปที่พลวัตการเคลื่อนไหวใน 3 มิติ
ที่น่าสนใจ คือ ตัวตนของนักการเมืองนับตั้งแต่ก่อนปี 2547 จนกระทั่งหลังปี 2547 ตลอดจน
โอกาสและข้อท้าทายสำหรับความเป็นนักการเมืองมลายูมุสลิม เพื่อชี้ให้เห็นถึงนัยสำคัญที่
อัตลักษณ์มีต่อการเมืองในพื้นที่ชายแดนใต้นั่นเอง
นักการเมืองมลายูมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้: ตัวตน
หากกล่าวถึงตัวตนของนักการเมืองมลายูมุสลิมตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อน
หรือหลังจากเกิดสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จะพบว่านักการเมืองมลายูมุสลิมมีการ
ขับเคลื่อนเพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับประชาชนในพื้นที่มาโดยตลอด นอกเหนือจากนั้นสิ่งที่เป็นตัวตน
ของนักการเมืองในพื้นที่ยังประกอบสร้างผ่านการทำงานขับเคลื่อนเพื่อสังคมในฐานะองค์กร
ภาคประชาสังคม นักกฎหมาย หรือกระทั่งเป็นผู้มีอิทธิพลที่ทำงานให้กับประชาชนได้ระดับหนึ่ง
นอกจากนั้นลักษณะที่เห็นได้ชัดของการขับเคลื่อนของนักการเมืองในพื้นที่จะเห็นถึงการเข้าถึง
ประชาชนผ่านหัวคะแนนที่จะมีผลอย่างมากต่อฐานเสียงของนักการเมืองระดับชาติในพื้นที่
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2 ในครอบครัว ตลอดจนยังสามารถเห็นการยกฐานะจากผู้ที่สามารถช่วยเหลือชาวบ้านสู่การเป็น
ขณะเดียวกันยังสามารถเห็นลักษณะของการถ่ายทอดการทำงานทางการเมืองแก่สมาชิก
ตัวแทน
โดยที่ลักษณะเฉพาะที่กล่าวไว้ข้างต้น จะเห็นอย่างค่อนข้างชัดเจนว่าการขับเคลื่อนส่วนใหญ่
ของนักการเมืองมลายูมุสลิมใช้ความเป็นมลายูมุสลิมในการหาเสียง รวมถึงการดำเนินขับเคลื่อน