Page 133 - kpi20756
P. 133

การประชุมวิชาการ
                                                                                        สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21   1
                                                                                        ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                            นับตั้งแต่ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เกิดขึ้นระลอกใหม่ในปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา
                      หากมองในภาพรวมช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ถึงปัจจุบันมีการเลือกตั้งทั่วไปทั้งสิ้น 4 ครั้ง

                      มีการเลือกตั้งอีก 1 ครั้งที่เป็นอันต้องโมฆะ อีกทั้งยังมีการลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก
                      2 ครั้ง แม้ว่าจะมีช่วงเวลาให้นักการเมืองต้องทำงานหลายครั้ง แต่ในช่วงเวลานี้เองก็ยังเกิด
                      การรัฐประหาร 2 ครั้ง และความไม่ลงตัวของบริบททางการเมืองทั้งประเทศในช่วงที่ผ่านมา

                      ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนของนักการเมืองในพื้นที่ขัดแย้งด้วยเช่นกัน งานชิ้นนี้
                      จึงจะค่อยๆ คลี่ให้เห็นถึงพัฒนาการของการปรับตัวของนักการเมืองในแต่ละช่วงนับตั้งแต่ปี

                      พ.ศ. 2547 มาถึงปี พ.ศ. 2562 ภายใต้บริบททางการเมืองระดับใหญ่ของประเทศที่ไม่ลงตัว
                      รวมถึงบริบทของความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นและลดลงในแต่ละช่วงเวลา งานชิ้นนี้ขับเคลื่อนอยู่บน
                      การอธิบายคำสำคัญๆ 3 คำ คือ นักการเมือง มลายูมุสลิม และชายแดนใต้ ซึ่งจะค่อยๆ ถอดให้

                      เห็นความสัมพันธ์ของแต่ละคำตลอดงานวิจัย


                            เมื่อกล่าวถึงกลุ่มนักการเมืองในพื้นที่แล้ว ที่ผ่านมามีงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้
                      อยู่ไม่มากนัก สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดวงสานเสวนาเพื่อ
                      แลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมุ่งเน้นในการเปิดพื้นที่

                      ให้นักการเมืองในพื้นที่ชายแดนใต้ได้แลกเปลี่ยนปัญหาและหาทางออกร่วมกัน โดยกิจกรรมนี้
                      มุ่งเน้นไปที่การสานเสวนาเพื่อให้นักการเมืองแสดงความเห็นเรื่องการแก้ไขปัญหาในพื้นที่

                      ขณะเดียวกันมีงานเขียนของ ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ ที่ศึกษาและวิเคราะห์การเมืองของกลุ่ม
                      นักการเมืองหลักๆ ในพื้นที่ออกมา ตลอดจนบทวิเคราะห์อื่นๆ ที่พยายามทำความเข้าใจการเมือง
                      ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ออกมาเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะในช่วงการเลือกตั้ง ดวงยิหวา

                      อุตรสินธุ์ (Utarasint, 2018)  ยังเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเรื่อง Voices and Votes
                      Amid Violence: Power and Electoral Accountability in Thailand’s Deep South ซึ่งเป็น

                      วิทยานิพนธ์ที่เน้นในเรื่องพฤติกรรมการออกเสียงของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยที่
                      งานชิ้นนี้ยังได้สรุปถึงพัฒนาการทางการเมืองของพื้นที่ชายแดนใต้ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมากระทั่งปี
                      พ.ศ. 2554 งานชิ้นนี้ได้เน้นย้ำว่าผลของการเลือกตั้งที่ประชาชนออกมาใช้สิทธิในแต่ละครั้ง

                      จะสามารถชี้ให้เห็นถึงความต้องการของประชาชนในแต่ละช่วงได้ในระดับหนึ่ง ในพื้นที่จังหวัด
                      ชายแดนภาคใต้ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ความหวาดระแวง หากมีการเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัด

                      ก็จะทำให้กลายเป็นผู้ต้องสงสัยในการสนับสนุนกลุ่มขบวนการได้ ดังนั้นงานชิ้นนี้จึงสรุปว่า
                      การออกไปเลือกตั้งของประชาชนจึงนับได้ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีความเสี่ยงน้อยสำหรับการให้
                      ประชาชนในพื้นที่แสดงออกถึงความต้องการ เมื่อระดับของความรุนแรงสูงขึ้น ระดับของการมี

                      ส่วนร่วมทางการเมืองของผู้คนก็จะสูงขึ้น และมีแนวโน้มว่าผลที่ออกมาจะเป็นไปในทางที่ฝ่ายตรงข้าม
                      รัฐบาลจะได้รับเสียงที่มากขึ้นจากประชาชนในพื้นที่ หากว่าเป็นความรุนแรงในระดับใหญ่แล้ว

                      ก็จะทำให้เรื่องราวที่เกิดขึ้นถูกนำไปสื่อสารต่อเพื่อทำให้เกิดความรู้สึกร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับ
                      ผลจากความรุนแรงนั้นๆ กระทั่งแปรไปสู่การตัดสินใจเลือกผู้แทนทางการเมืองของตนเอง เมื่ออยู่
                      ท่ามกลางความขัดแย้งสิ่งหนึ่งที่ประชาชนจะสังเกตนักการเมือง คือ การตอบสนองและท่าทีของ

                      พวกเขาต่อเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ทำได้ง่ายขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์       เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2
                      นอกจากนั้นแล้วงานวิจัยชิ้นนี้ยังชี้ให้เห็นว่า รูปแบบของการเข้าถึงประชาชนของนักการเมืองภาย
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138