Page 134 - kpi20756
P. 134
1 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
ใต้บริบทความรุนแรง ก็อาจเปลี่ยนไปในรูปแบบที่นักการเมืองอาจจะต้องพึ่งพาข้อต่อที่จะนำไปสู่
ประชาชนได้ เนื่องจากบางพื้นที่ก็อาจห่างไกลและมีความเสี่ยงเกินกว่านักการเมืองจะลงไปเอง
ดวงยิหวา (2018) ยังชี้ให้เห็นถึงข้อถกเถียงที่น่าสนใจว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ชาวมลายูมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แม้ว่าจะมีการมองว่าเพิ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2547
แต่งานชิ้นนี้มีการถกเถียงว่าในความจริงการมีส่วนร่วมของประชาชนอาจจะออกมาในรูปแบบอื่น
ที่ไม่ใช่การตั้งขบวนการติดอาวุธและต่อสู้ด้วยความรุนแรง ฉะนั้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ชาวมลายูอาจเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 เมื่อมีการประท้วงใหญ่หน้ามัสยิดกลาง เนื่องจากเป็นช่วง
ที่เริ่มทำให้การเมืองเรื่องการเลือกตั้งในพื้นที่พัฒนาต่อมาเรื่อยๆ ในกรณีนี้เป็นการตอบโต้
เหตุการณ์ที่สะพานกอตอ เมื่อมีผู้คนโดนสังหารและเรื่องราวที่คนที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น
ทำให้ประชาชนออกมาประท้วงในเวลานั้น ทำให้เห็นว่าเมื่อรัฐใช้ความรุนแรง สิ่งที่ประชาชน
ที่โต้ตอบ คือ การมีส่วนร่วมทางการเมืองในมิติต่างๆ มากขึ้น จากเหตุการณ์ครั้งนั้น การเลือกตั้ง
ในปีถัดมา ก็ส่งผลให้ตัวแทนหลายคนสอบตก และเป็นอีกจุดเริ่มต้นของนักการเมืองภายใต้กลุ่ม
วาดะห์หลายๆ คน ซึ่งภายหลังจากนั้นก็มีตัวแทนจากกลุ่มวาดะห์หลายคนที่ประสบความสำเร็จ
จากการชนะการเลือกตั้งอีกหลายคน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเกิดเหตุการณ์ระลอกใหม่ขึ้น
กระทั่งทำให้ผู้แทนจากกลุ่มวาดะห์สอบตกทั้งหมด จากการพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ งานวิจัย
ชิ้นนี้พบว่า แม้ว่าประชาชนในพื้นที่จะยากจน มีระดับการอ่านเขียนไม่สูงเท่ากับหลายๆ จังหวัด
ในประเทศไทย หรืออาจจะไม่ได้มีการพูดถึงค่านิยมของประชาธิปไตยมากนัก แต่ชาวบ้าน
จะตัดสินใจในการเลือกผู้แทนด้วยข้อมูลที่พวกเขามีอย่างตั้งใจ โดยข้อมูลที่ชาวบ้านจะใช้ประกอบ
คือ นักการเมืองมีความเกี่ยวข้องกับใคร สังกัดพรรคไหน แหล่งเงินทุนที่แต่ละพรรคนำมาใช้มา
จากแหล่งใด รวมถึงบุคลิกและความสามารถของผู้สมัคร เป็นต้น งานชิ้นนี้จึงได้อีกหนึ่งของสรุป
ที่ว่าประชาชนในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตเมืองใหญ่มีเหตุผลในการตัดสินใจเลือกแต่ละครั้งไม่ใช่เพียงแต่
เลือกเพราะเงินเพียงอย่างเดียว ดังเช่นที่มักจะมีความเชื่อกันเช่นนั้นโดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นผู้นำ
ในเมืองใหญ่ และการเลือกของผู้คนในพื้นที่จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ หากเกิดเหตุการณ์ความ
รุนแรงรายวัน ก็จะมีแนวโน้มว่าประชาชนจะดูที่ตัวบุคคลมากกว่าพรรคแต่หากว่าเป็นช่วงที่เกิด
เหตุการณ์ความรุนแรงระดับใหญ่ที่มีรัฐเป็นตัวแสดง ก็มักจะส่งผลให้ประชาชนเลือกที่จะลงโทษ
พรรครัฐบาลในขณะนั้นและเลือกพรรคตรงข้ามแทน
นอกจากนั้นมีงานลักษณะคล้ายคลึงกันซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเรื่อง Political
Participation during Conflict: A Case Study of the Conflict Areas in Songkhla and
Pattani Provinces of Thailand ของ ธนิกุล จันทรา (Chantra, 2017) ซึ่งได้ศึกษาเปรียบเทียบ
พื้นที่ที่มีระดับความรุนแรงสูงและระดับความรุนแรงไม่สูงนัก เพื่ออธิบายถึงระดับการมีส่วนร่วม
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2 เป็นการมีส่วนร่วมในรูปแบบที่ผ่านการเลือกตั้งหรือแนวทางทางการเมืองในรูปแบบอื่นๆ และยังได้
ทางการเมืองของผู้คนว่าจะเกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่อยู่ภายใต้ความรุนแรงหรือไม่ โดยงานชิ้นนี้อธิบาย
ว่าผู้คนในพื้นที่ความขัดแย้งจะมีแนวโน้มในการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะ
ข้อสรุปว่าหากรัฐจำกัดหรือปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้คน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มี
ความเปราะบางอยู่แล้วก็จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดความขัดแย้งที่เข้มข้นขึ้น ในงานวิจัยชิ้นนี้