Page 138 - kpi20756
P. 138
1 8 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
ก็ยอมรับว่าการที่กลุ่มวาดะห์พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ที่เมื่อ
ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลก็ลงโทษนักการเมืองที่ร่วมรัฐบาลในขณะนั้น ขณะเดียวกันในมุมของ
นักการเมืองกลุ่มวาดะห์เอง พวกเขาก็ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วที่จะเสนอแนะแนวทางการแก้ไข
ปัญหาที่สอดคล้องกับบริบท ณ ขณะนั้น แก่รัฐบาลในเวลาดังกล่าว แต่ทว่าผู้นำรัฐบาลในขณะนั้น
ไม่ฟังและไม่เชื่อใจพวกเขา ถึงขนาด ส.ส. ในกลุ่มวาดะห์เองยังถูกจับกุมดำเนินคดี และรัฐมนตรี
ยังต้องไปเป็นพยานที่ศาล (วันมูหะมัดนอร์ มะทา, 2562)
ผลการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 ถูกมองว่าเป็นการลงโทษต่อพรรคไทยรักไทยภายใต้
การนำของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเดิมมีจำนวน ส.ส. ในพื้นที่จำนวน 6 คน โดยที่ส่วนใหญ่
แล้วมาจากกลุ่มวาดะห์ ซึ่งสังกัดพรรคความหวังใหม่ และย้ายเข้ากับพรรคไทยรักไทยในเวลาต่อมา
ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 นักการเมืองกลุ่มวาดะห์ รวมถึง ส.ส. เดิมที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์
อย่างแพทย์หญิงพรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ พ.ต.ท.เจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง และวัยโรจน์ พิพิธภักดี ก็ได้
ลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทย แต่ทุกท่านไม่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผลการเลือกตั้ง
ในปี พ.ศ.2548 ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ไป 10 ที่นั่ง และพรรคชาติไทยอีก 1 ที่นั่ง โดยไม่มี
กลุ่มวาดะห์เลยหรือตัวแทนจากพรรคไทยรักไทยเลย (ดวงยิหวา อุตรสินธุ์, 2554)
อย่างไรก็ตามตัวแทนนักการเมืองท่านหนึ่งมองว่า แม้ว่าจะอยู่ในสภาแล้ว นักการเมือง
ในพื้นที่โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเป็นญาติพี่น้อง คนใกล้ชิดกับคนที่รัฐเชื่อว่าเป็นสมาชิก
ของกลุ่มติดอาวุธ ก็อยู่ในสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เนื่องจากกลุ่มนักการเมืองกลุ่มนี้
กลายเป็นที่ต้องสงสัยจากฝ่ายความมั่นคง ฉะนั้นในบางสถานการณ์จึงมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถ
ทำได้ หลังจากเหตุการณ์ปี 47 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ถูกย้ายจากกระทรวงมหาดไทยไปสู่
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้น ว่านักการเมือง
มลายูมุสลิมอาจมีส่วนที่หนุนหลังกลุ่มติดอาวุธ โดยที่หลังจากนั้น ยังมีผู้แทนที่โดนออกหมายจับ
1 ท่านในกรณีปล้นปืน คือ คุณนัจมุดดีน อูมา ซึ่งต้องสู้คดี จนศาลยกฟ้องว่าไม่ได้กระทำผิด
และยังมีอีก 2 ท่านที่คาดว่าจะโดนฟ้อง แต่ก็ไม่มีการออกหมายจับแต่อย่างใด นักการเมืองอาวุโส
ท่านหนึ่งได้ให้ความเห็นว่า
“นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 กลุ่มวะดะห์สามารถทำให้ผู้หญิงคลุมฮิญาบได้ แต่บีอาร์เอ็นมองว่า
วะดะห์เป็นเครื่องมือของรัฐที่ต้องการขจัดขบวนการต่อสู้ ขณะที่ทหารฝ่ายรัฐไทยก็มองว่า พวกเรา
เป็นกลุ่มที่ต้องการเป็นเงื่อนไขของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ทำให้นักการเมืองอยู่ลำบาก”
นักการเมืองจากกลุ่มวาดะห์ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า ในแง่หนึ่งเมื่อนักการเมืองมุสลิม
ประสบความสำเร็จในทางการเมือง และแก้ไขประเด็นสิทธิหลายๆ อย่างสำหรับมุสลิม (นัจมุดดีน
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2 และรองนายกรัฐมนตรี อาจจะเป็นความบังเอิญจนเกินไป หากมองว่าไม่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน
อูมา, 2554) ก็ทำให้ความชอบธรรมของการใช้อาวุธลดลง ทำให้บางท่านมองว่าการเกิด
เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2547 เป็นช่วงเวลาที่มีมลายูมุสลิมได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เพราะว่าหากมุสลิมมีสิทธิมีพื้นที่แล้ว ข้ออ้างของการเรียกร้องสิทธิอาจจะหายไป และอาจไม่
สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียกร้องสู่เอกราชได้อย่างเต็มที่นัก