Page 106 - kpi20858
P. 106

63























                       ภาพที่ 2 เหรียญที่ระลึกพระแก้วมรกต 150 ปี, พ.ศ.2475, พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
                       ที่มาภาพ: พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า


                              ด้านเรื่องราวนั้นสามารถสรุปย่อได้ดังนี้คือ  รามเกียรติ์เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาท

                       สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ถือเป็นรามเกียรติ์ฉบับไทยที่สมบูรณ์ที่สุด  ในการนี้สมเด็จ

                       พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่า

                                  พระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์นี้  นักปราชญ์ราชบัณฑิตในราชส านักช่วยกันแต่ง

                            เรื่องรามเกียรติ์ที่เคยใช้เป็นบทละครในราชส านักครั้งกรุงศรีอยุธยา และสูญหายไปเมื่อครั้งกรุง
                            ศรีอยุธยาถูกท าลายในปี  พ.ศ.2310  เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

                            มหาราช เมื่อทรงแก้ไขจนพอพระทัยแล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้ประทับตราเป็นฉบับพระราชนิพนธ์
                                                                                                   95
                              วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์นั้นได้รับการประพันธ์ขึ้น โดยมีเนื้อเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการสู้รบ

                       กันสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือพระราม และอีกฝ่ายหนึ่งคือทศกัณฐ์ ทั้งนี้ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดี

                       ไทยได้สรุปย่อเนื้อเรื่อง ไว้ดังนี้คือ

                                  หิรันตยักษ์ได้พรจากพระอิศวรจึงก าเริบม้วนแผ่นดินไปไว้ใต้บาดาล  พระนารายณ์จึง

                            อวตารเป็นหมูป่ามาสังหารหิรันตยักษ์แล้วกลับไปบรรทมที่เกษียรสมุทรจนเกิดดอกบัวผุดจาก
                            พระนาภี  ภายในดอกบัวมีกุมารองค์หนึ่ง  พระนารายณ์น ากุมารนั้นไปถวายพระอิศวร  พระ

                            อิศวรประทานนามว่าอโนมาตันและบัญชาให้สร้างเมืองอยุธยาให้แก่พระกุมาร

                                  เนื้อความตอนต้นกล่าวถึงก าเนิดตัวละคร  ทั้งฝ่ายเมืองอยุธยาและเมืองลงกาตลอดจน

                            ตัวละครวานรและเทวดาต่างๆ  ก าเนิดตัวละครส าคัญของเรื่อง  เช่น  นนทกมาเกิดเป็น

                            ทศกัณฐ์โอรสท้าวลัสเตียน  ทศกัณฐ์มีนิสัยเป็นพาลมักก่อความเดือดร้อนให้เทวดาและฤาษี
                            เสมอ ฤาษีทั้งหลายจึงทูลเชิญพระนารายณ์อวตารไปปราบยักษ์ พระนารายณ์อวตารมาเป็น



                           95   ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย,  รามเกียรติ์,  เข้าถึงเมื่อ  5  กันยายน  2562,  เข้าถึงได้จาก  https://www.
                       sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=208
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111