Page 95 - kpi20858
P. 95
52
จากศิลปะตะวันตกสร้างความเท่าทันร่วมสมัย ทว่ายังคงตั้งอยู่บนจิตวิญญาณของความเป็นไทย
ผนึกสร้างฐานรากทางวิชาการไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
โรงเรียนเพาะช่าง ถือเป็นสถาบันศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2456 หลักสูตร
ในสมัยแรก มีแผนกพิมพ์รูป แผนกช่างเขียน แผนกช่างปั้น แผนกช่างแกะ แผนกช่างถม แผนกช่าง
กลึง แผนกช่างไม้ และแผนกสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังมีวิชาที่เรียน คือ วิชาภาพร่าง วิชาลาย
ไทย วิชาลายฝรั่ง วิชาวาดเส้น วิชาเขียนพู่กัน วิชาช่างแบบอย่าง และวิชาเรขาคณิต ต่อมา พ.ศ.
2466–2472 ได้มีการเปิดแผนกช่างถ่ายรูปขึ้น ซึ่งเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าร าไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงสนพระทัย เสด็จทอดพระเนตรกิจการของ
76
โรงเรียนเพาะช่าง
การศึกษาวิชาช่างของไทย ได้รับการสอนควบคู่ไปกับการศึกษาวิทยาการของตะวันตก
อย่างไรก็ตามโรงเรียนเพาะช่างมิใช่แหล่งความรู้เดียวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ราวปลายรัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงน าเข้าช่างปั้นชาวตะวันตก ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทส าคัญ
ต่อการศึกษาศิลปกรรมของไทยในเวลาต่อมา คือ ศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี หรือศาสตราจารย์
ศิลป์ พีระศรี ท่านได้น าระบบการเรียนการสอนศิลปะแบบยุโรป เข้ามาสอนในประเทศสยามตั้งแต่
ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการหยั่งรากของศิลปะสมัยใหม่แบบ
ตะวันตกอย่างเป็นระบบ ผ่านการศึกษาในโรงเรียนประณีตศิลปกรรม โรงเรียนศิลปากร และ
77
มหาวิทยาลัยศิลปากร ตามล าดับ
เมื่อกล่าวถึงบรรยากาศการสร้างผลงานประติมากรรมที่โดดเด่น ในรัชสมัยของพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมักถูกสร้างด้วยรูปแบบสัจนิยม ดังปรากฏการปั้นหล่ออนุสาวรีย์
สุนัขของพระเจ้าอยู่หัวชื่อ “ย่าเหล” ซึ่งพระองค์ทรงโปรดฯ ให้ปั้นหล่อด้วยสัมฤทธิ์ และส่งมาจาก
ต่างประเทศ รวมถึงการจ้างสถาปนิกชาวตะวันตกมาออกแบบตกแต่งพระบรมหาราชวัง และพระที่
นั่งต่างๆ อีกด้วย
ด้านจิตรกรรมได้ว่าจ้างช่างเขียนชื่อนายคาโร ริโกลิ มาเขียนพระราชกรณียกิจในรัชกาลที่
5 ประดับเพดานโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม ตลอดจนทรงเริ่มเห็นความจ าเป็นที่จะให้ช่างเขียนท า
รูปปั้นต่างๆ จ าพวกเหรียญตรา งานปั้นอนุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์
76 วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, ข้อมูลวิทยาลัยเพาะช่าง, เข้าถึงเมื่อ 14
พฤษภาคม 2562 เข้าถึงได้จาก http://www.pohchang.rmutr.ac.th/test-5555/
77 วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, “จิตรกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย,” ใน ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์, 123.