Page 91 - kpi20858
P. 91
48
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างเขียนชาวไทยคือ พระสรลักษณ์ลิขิต (มุ่ย จันทรลักษณ์) ตามเสด็จด้วย ซึ่ง
พระสรลักษณ์ลิขิตได้มีโอกาสศึกษาศิลปะตามแบบตะวันตก ต่อมาได้ฝากฝีมือสร้างงานจิตรกรรม
ภาพเหมือนบุคคลส าคัญหลายชิ้น อาทิ ภาพจิตรกรรมสีน ้ามันพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 2
ตลอดจนพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 6 และพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 7 นอกจากนี้ยังได้
คัดลอกรูปวีนัสของเชียน หรือทิเซียโน เวเซลลิ (Tiziano Vecelli) เป็นต้น
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น นอกจากจะปรากฏการสร้าง
ผลงานตามแบบอย่างศิลปะตะวันตก ยังได้เกิดการสืบต่อแนวทางสกุลช่าง ขรัวอินโข่ง ซึ่งเป็นการ
การผสมผสานอุดมคติความงามแบบไทยเข้ากับตะวันตก โดยมีผลงานส าคัญคือ จิตรกรรมฝาผนัง
พระที่นั่งทรงผนวช ดังที่วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ได้กล่าวถึงว่า
จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งทรงผนวช เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่พัฒนาต่อเนื่องมา
จากจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างขรัวอินโข่งในรัชกาลที่ 4 คือ พัฒนารูปแบบการวาดที่มี
ลักษณะผสมระหว่างจิตรกรรมแบบประเพณีในอุดมคติกับแบบเหมือนจริงเข้าด้วยกัน แต่
มีลักษณะเหมือนจริงมากกว่าแบบประเพณี ... ช่างพยายามวาดสถานที่จริงแบบเหมือน
จริง รวมทั้งภาพบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ เช่น พระบาทสมเด็จพระพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งแม้
จะไม่เหมือนเสียทีเดียว แต่ก็แสดงให้เห็นว่าช่างเขียนพยายามวาดให้เหมือนจนพอจะดู
ออกว่าเป็นใคร ภาพคนยังมีสัดส่วนกายวิภาค (anatomy) และลักษณะแสงและเงาไม่
ถูกต้องตามหลักของศิลปวิชาการของตะวันตก แต่จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งทรงผนวช
แสดงให้เห็นว่าช่าง (ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าใครเป็นผู้วาด) พยายามวาดภาพแบบเหมือน
จริง แบบจิตรกรรมตะวันตกเพื่อบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ โดยวาดสถานที่จริง
67
และบุคคลจริงไว้... ซึ่งเป็นมิติใหม่ของการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เกิดขึ้นในรัชกาลนี้
ในขณะที่บรรยากาศการปรากฏตัวของศิลปะแบบตะวันตก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นทวีความชัดเจนขึ้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา
นุวัดติวงศ์ ทรงงานสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เรื่อยมา
จนถึงรัชกาลที่ 7 ทรงสร้างรูปแบบการแสดงออกที่น าเอาความงามอ่อนช้อยตามขนบนิยมของไทย
มาผสานความสมจริงแบบตะวันตก ทั้งกายวิภาค ทัศนียวิทยา และแสงเงา ถูกน ามาใช้จนเกิด
ความงามที่กลมกล่อมอย่างพอเหมาะ จากการที่พระองค์ทรงรอบรู้ และทรงมีพระปรีชาสามารถ
อย่างยิ่งในวิทยาการด้านศิลปะและวัฒนธรรม จึงทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “นายช่างใหญ่แห่ง
67 เรื่องเดียวกัน, 95-96.