Page 90 - kpi20858
P. 90
47
ช่วงเวลาที่เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) เป็นช่วงเวลาที่
ศิลปะสมัยใหม่ในยุโรปก าลังเบ่งบาน เกิดลัทธิศิลปะใหม่ๆ หลายลัทธิ แต่ศิลปะลัทธิต่างๆ
ยังไม่เข้ามามีอิทธิพลต่อการสร้างงานศิลปะของช่างชาวสยาม คงรับแต่รูปแบบของศิลปะ
โบราณของยุโรปเข้ามาเท่านั้น เช่น การวาดภาพเหมือนบุคคล ซึ่งเริ่มมาจากการถ่ายรูป
เหมือนในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้รับความนิยมมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5
65
พระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ปรากฏว่าทรงชื่นชมศิลปะ
โบราณของยุโรป ซึ่งเป็นรากฐานของการสร้างผลงานศิลปะตามหลักวิชา ที่มีการแสดงออกแบบ
ถูกต้องสมจริง ทั้งกายวิภาค ทัศนียวิทยา และการระบายสีแสงเงา ดังพบเห็นได้จาก ผลงาน
จิตรกรรมและประติมากรรมที่พระองค์น ากลับมาประดับตกแต่งพระราชวัง พระที่นั่งต่างๆ ตลอดจน
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างชาวตะวันตกแสดงฝีมือสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมากมาย เช่น ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้ชอง มาริอุส ฟูเก (Jean Marius Fougue) ศิลปินชาวตะวันตกที่เข้ามาอยู่ในราชส านัก วาดพระ
บรมสาทิสลักษณ์ ด้วยเทคนิคสีน ้ามันบนผ้าใบ ปัจจุบันประดิษฐานที่พระที่นั่งวโรภาษพิมาน
พระราชวังบางปะอิน สันนิษฐานว่าจิตรกรคงวาดภาพขึ้นโดยอาศัยการศึกษาจากพระบรมฉายา
ลักษณ์ประกอบกับการศึกษาจากพระองค์จริง จึงท าให้พระพักตร์และพระวรกายเป็นธรรมชาติ อีกทั้ง
โปรดเกล้าฯ ให้ส่งพระบรมฉายาลักษณ์ไปยุโรป เพื่อเป็นแบบว่าจ้างจิตรกรชาวยุโรปวาดพระบรม
66
สาทิสลักษณ์ส าหรับน ามาประดิษฐานตามพระที่นั่งต่างๆ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล ในสมัยนี้เจ้าฟ้าหลายพระองค์ ถูกส่งไปศึกษาเรียนรู้
ในศาสตร์สาขาต่างๆ ยังประเทศตะวันตก อาทิ ประเทศอังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส เพื่อกลับมา
พัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในภายภาคหน้า
อาจกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงน าเข้าแนวคิด และการ
สร้างสรรค์ทางศิลปะแบบตะวันตกจนเกิดความแพร่หลายมากกว่ากษัตริย์ไทยในรัชกาลใด จาก
การที่พระองค์ทรงว่าจ้างศิลปิน สถาปนิก และวิศวกรชาวตะวันตก เพื่อเข้ามาสร้างงานศิลปกรรม
ในประเทศสยาม ทั้งประเภทผลงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมเป็นจ านวน
มาก ส่งอิทธิพลต่อช่างหรือศิลปินชาวไทย ก่อให้เกิดการเรียนรู้การสร้างสรรค์แบบตะวันตก จน
กลายเป็นกระแสนิยมในสังคมไทยอย่างมากในเวลาต่อมา
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีโอกาสได้สัมผัสกับงานศิลปะตะวันตก
อย่างใกล้ชิด จากการเสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง ทั้งนี้การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พระองค์
65 วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, “จิตรกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย,” ใน ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์, 85.
66 เรื่องเดียวกัน, 85-86.