Page 94 - kpi20858
P. 94
51
ประกอบกับทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายโรงเรียนสมาคมช่างฝีมือจากสามัคยาจารย์สมาคมที่ก่อตั้งใน
รัชกาลที่ 5 ไปอยู่ที่กระทรวงธรรมการ และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนหัตถกรรมราชบูรณะ”
ต่อมาใน พ.ศ. 2456 ข้าราชการกระทรวงธรรมการได้ร่วมกันบริจาค เงินสร้างอาคารเพื่อระลึก
ถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชด าเนินไปเปิดอาคารในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2456 ได้พระราชทานชื่อโรงเรียนใหม่ว่า
“โรงเรียนเพาะช่าง” มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานงานช่างของไทย ตลอดจนสร้างการถ่วงดุลความ
74
ส าคัญระหว่างศิลปะที่เป็นรากเหง้าของไทย กับกระแสความนิยมศิลปะตามแบบอย่างตะวันตก
สาเหตุที่ทรงพระราชทานชื่อโรงเรียนว่า “เพาะช่าง” นั้นมีความหมายถึง การบ่มเพาะงานช่างของ
ไทย ดังปรากฏอยู่ในพระราชด ารัสในการเปิดโรงเรียนเพาะช่าง ดังนี้
ชาติไทยเราได้เคยสร้างความเจริญมานานแล้ว... แต่บางสมัยในพงษาวดารของ
เราได้มีข้าศึกสัตรู เข้ามาย ่ายีท าลายถาวรวัดถุต่างๆ ของเรา แลท าความทรุดโทรมให้เปน
อันมาก ครั้นต่อมาเมื่อเราต้องด าเนินตามสมัยใหม่ วิชาช่างของเราก็จวนจะลืมหมด ไป
หลงเพลินแต่จะเอาอย่างของคนอื่นเขาถ่ายเดียว... ที่ถูกนั้นควรจะแก้ไขพื้นวิชาของเราเอง
ให้ดีขึ้นตามความรู้ แลวัดถุอันเกิดขึ้นใหม่ตามสมัย ...ได้เคยปรารภกับเจ้าพระยาเสด็จ แล
ผู้ที่มีน่าที่เกี่ยวข้องด้วยการศึกษาที่จะให้วิชาช่างไทยของเราตั้งขึ้นใหม่จากพื้นเดิมของเรา
แล้ว แลขยายให้แตกกิ่งก้านสาขางอกงามยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนเอาพันธุ์พืชของเราเองมา
ปลูกลงในแผ่นดินของเรา แล้วบ ารุงให้เติบโตงอกงาม ดีกว่าที่จะไปเอาพันธุ์ไม้ต่างประเทศ
มาปลูกลงในแผ่นดินของเรา โดยความประสงค์เช่นนี้ เมื่อเจ้าพระยาเสด็จมาขอชื่อโรงเรียน
เราได้ระฦกผูกพันอยู่ในความเปรียบเทียบกับต้นไม้ดังกล่าวนี้ เราจึงได้ให้ชื่อโรงเรียนนี้ว่า
โรงเรียนเพาะช่าง ในเวลานี้วิชาความรู้ของไทยเราได้ด าเนินไปมากแล้ว สมควรที่เรา
ทั้งหลายจะให้วิชาความรู้ที่เราได้มาจากต่างประเทศ เพาะปลูกแลบ ารุงต้นไม้ของเราคือ
ศิลปะวิชาช่างไทยให้เจริญต่อไปโดยควรแก่สมัย
75
จากพระราชด ารัสข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงความหมายของชื่อโรงเรียน โดยค าว่า “เพาะช่าง”
นั้นเป็นค าอุปมาเปรียบเปรยถึงช่างไทย ว่าเป็นดั่งเมล็ดพันธุ์พืชที่ถูกน ามาเพาะเลี้ยงให้เจริญงอก
งาม เพื่อเติบใหญ่และหยั่งรากลึกลงบนผืนแผ่นดินไทยอย่างมั่นคงในอนาคต โดยอาศัยวิทยาการ
74 เรื่องเดียวกัน, 102.
75 “ค ากราบบังคมทูลพระราชด ารัสเปิดโรงเรียนเพาะช่าง”, เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์, กระทรวงนครบาล, ร
6 น20.13/7, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.