Page 96 - kpi20858
P. 96
53
เป็นแรงกระตุ้นให้ช่างไทยเกิดแรงบันดาลใจในการผสมผสานวิทยาการแบบตะวันตก เข้ากับแบบ
อย่างศิลปะไทย จนอาจกล่าวได้ว่าศิลปะแบบตะวันตก เริ่มฝังรากลึกลงไปในสังคมและวัฒนธรรม
ของไทยอย่างมั่นคง ในการนี้นักวิชาการหลายท่านคิดเห็นว่า ศิลปกรรมสยามที่รับเอาอิทธิพลจาก
ชาติตะวันตกเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะเสื่อมถอยของผลงานศิลปกรรมตามขนบนิยมดั้งเดิม
ดังที่ จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ กล่าวถึงว่า “แม้จะมีการฟื้นกลับศิลปกรรมไทยประเพณีขึ้น แต่ก็เป็นได้
78
เพียงลักษณะ ลูกประสม หรืออย่าง อาภรณ์อย่างไทย ร่างกายอย่างฝรั่ง มีให้เห็นได้ดื่นๆ”
กระแสวัฒนธรรมตะวันตกนี้เกี่ยวพันกับสภาพการณ์ทางสังคม ซึ่งเจ้าฟ้าข้าแผ่นดินซึ่งรัชกาล
ที่ 5 ทรงส่งไปศึกษาในต่างประเทศได้ส าเร็จการศึกษา กลับมาพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง
ยิ่งขึ้นในรัชกาลที่ 6 สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงผู้คนต่างตอบรับผลงานศิลปะ โดยที่ศิลปะเริ่มเกี่ยวพัน
เป็นส่วนหนึ่งต่อด ารงชีวิต โดยมีการตกแต่งพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง สถานที่ราชการ สวน
สาธารณะ อาคารพาณิชย์ และแพร่ขยายไปในอาคารบ้านเรือนของคนสามัญด้วยงานประติมากรรม
79
และจิตรกรรมแบบภาพเหมือนมากขึ้น
ช่างไทยคนส าคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายท่าน สามารถ
สร้างผลงานสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์หลายรัชกาล ดังเช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งมีผลงานส าคัญที่ทรงท าร่วมกับช่างชาวตะวันตก ดังที่วิบูลย์
ลี้สุวรรณ ได้กล่าวถึง ผลงานไว้พอสังเขป ดังนี้
ผลงานส าคัญที่ทรงท าร่วมกับช่างชาวตะวันตก ได้แก่ จิตรกรรมบนเพดานพระที่
นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ทรงร่างภาพขนาดเล็กประทานให้แอร์โคโร มันเฟรดี
ขยายแบบ ให้คาร์โล ริโกลี วาดและลงสี ภาพจิตรกรรมบนเพดานห้องพระบรรทม ซึ่งแต่
เดิมเป็นเพดานเรียบ โปรดเกล้าให้ท าเป็นเพดานโค้งแล้ววาดภาพเทพยดา เพดานห้อง
ทรงพระอักษรเดิมเป็นเพดานไม้เปลี่ยนเป็นเพดานปูนในบางตอน วาดภาพอาทิตย์ชักรถ
ภาพจิตรกรรมดังกล่าวเป็น จิตรกรรมแบบใหม่ หรือจิตรกรรมสมัยใหม่อย่างที่ทรงวาดไว้
80
ไว้ที่ผนังพระอุโบสถวัดราชาธิวาส
78 จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ “จิตรกรรมไทยประเพณีสมัยรัตนโกสินทร์,” ใน ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์
(กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2549), 58.
79 คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, สมุดภาพประติมากรรมกรุงรัตนโกสินทร์
(กรุงเทพฯ: กราฟิคอาร์ต, 2525), 19.
80 วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, “จิตรกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย,” ใน ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์, 104.