Page 97 - kpi20858
P. 97
54
ผลงานข้างต้นเกิดจากความสามารถด้านลายเส้นที่มีเอกลักษณ์อันอ่อนหวานอย่างไทย
ผสานเข้ากับโครงสร้างร่างกายมนุษย์ตามหลักกายวิภาค ก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ที่ส่งอิทธิพลให้แก่
ช่างรุ่นหลังอีกหลายท่าน ได้แก่ พระเทวาภินิมมิต พระยาอนุศาสน์ จิตรกร หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย
81
และ เหม เวชกร เป็นต้น
จากข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าศิลปวัฒนธรรมสยามได้รับการปรับเปลี่ยน อันเกิดจาก
จากการเคลื่อนไหวของชนชาติตะวันตกในแถบเอเชีย โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวถือเป็นยุคสมัยของการเปิดรับศิลปวัฒนธรรมจากชาติตะวันตก ซึ่งเฟื่องฟูอย่างมากในรัช
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงน าเข้าสถาปนิก ประติมากร และจิตรกรจาก
ตะวันตก เข้ามาสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมมากมาย ทั้งนี้การเปิดรับไม่เพียงแต่น าเอารูปแบบของ
ศิลปะตะวันตกมาใช้แต่ฝ่ายเดียว ยังมีการน าวิทยาการใหม่มาผสมผสานให้สอดคล้องกับความงาม
ตามลักษณะไทย ซึ่งถูกปรับใช้ให้โดดเด่นขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ดังที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ให้ข้อแนะน าในเรื่องของการคัดสรรน าเอาสิ่งดีงามมาพัฒนา
ปรับปรุงศิลปะว่า “ในสิ่งที่เกี่ยวกับศิลปะ เราได้รับประโยชน์อย่างใหญ่หลวงจากตะวันตก ใน
การศึกษาเทคนิคของงาน แต่เมื่อเราลอกเลียนความคิดและแบบอย่างของเขา เราก็จะกลายเป็น
นักลอกแบบเลียนแบบที่น่าสงสาร เพราะงานลอกแบบเช่นนั้นย่อมเป็นงานปราศจากคุณค่าอัน
82
แท้จริง” ดังนั้นช่างหรือศิลปินไทยจึงเริ่มส าแดงฝีมือให้ประจักษ์ในอัจฉริยภาพของการน าเอาของ
ดีของชาติ ผสานกับเทคนิคความทันสมัยอย่างตะวันตกมากขึ้น จนพัฒนาไปสู่การก าเนิดช่างหรือ
ศิลปินสยามคนส าคัญหลายท่าน ที่สร้างผลงานอันโดดเด่นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว ถือเป็นรากฐานของพัฒนาการแบบสัจนิยม ซึ่งเป็นต้นก าเนิดความเป็นศิลปะสมัยใหม่ใน
ประเทศไทย
81 เรื่องเดียวกัน.
82 ศิลป์ พีระศรี, ศิลปวิชาการ (กรุงเทพ: มูลนิธิ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์, 2546), 169.