Page 101 - kpi20858
P. 101
58
ภาคที่ ๓ เริ่มเมื่อนางมณโฑประสูติไพนาสุริย์วงค์ซึ่งเป็นลูกทศกัณฐ์ แต่พิเภกเข้าใจ
ผิดคิดว่าเป็นลูกของตน ต่อมาพี่เลี้ยงลอบบอกว่าทศกัณฐ์เป็นบิดา ไพนาสุริย์วงศ์จึงไปหา
ท้าวจักรวรรดิซึ่งเป็นสหายของทศกัณฐ์ ท้าวจักรวรรดิยกทัพมาประชิดกรุงลงกาและจับตัว
พิเภกได้ อสุรผัดลูกของหนุมานกับนางเบญกายลูกสาวพิเภกจึงออกตามหาหนุมาน เมื่อ
พระรามทรงทราบเรื่องจากหนุมานจึงโปรดให้พระพรต พระสัตรุด ยกทัพไปตีกรุงลงกาและ
กรุงมลิวันของท้าวจักรวรรดิ พระพรต พระสัตรุดตีได้กรุงลงกาก่อน ประหารไพนาสุริย์วงศ์
และพี่เลี้ยง แล้วยกทัพไปตีกรุงมลิวันได้ฆ่าท้าวจักรวรรดิตาย
ภาคที่ ๔ เริ่มเมื่อพระรามพระลักษมณ์ออกไปประพาสป่า นางอดูลซึ่งเป็นยักษิณี
ญาติของทศกัณฐ์ปลอมเป็นนางก านัล มาขอให้นางสีดาเขียนรูปทศกัณฐ์แล้วเข้าสิงในรูป
นั้นพระรามมาพบเข้าจึงกริ้วให้พระลักษมณ์น านางสีดาไปประหาร พระลักษมณ์ฆ่านาง
สีดาไม่ตายจึงปล่อยนางไป นางสีดาไปอาศัยอยู่กับฤษีและประสูติพระมงกุฎ ต่อมาฤษีชุบ
โอรสให้นางสีดาอีกองค์หนึ่งนามว่าพระลบ เมื่อเจริญวัยขึ้นพระมงกุฎพระลบไปประพาสป่า
และพระมงกุฏลองศร พระรามได้ยินเสียงศร จึงกระท าพิธีปล่อยม้าอุปการและให้พระพรต
พระสัตรุด และหนุมานตามไป พระมงกุฎพระลบจับม้าอุปการได้จึงขึ้นขี่เล่น หนุมานจะจับก็
จับไม่ได้ แต่ต่อมาเมื่อพระพรต พระสัตรุดมาช่วยจึงจับพระมงกุฎได้ น าไปยังกรุงศรีอยุธยา
พระลบตามมาช่วยพาพระมงกุฎหลบหนีออกมาได้ พระรามจึงยกทัพตามมาได้รบพุ่ง แต่ศร
ศิลป์ ไม่กินกัน พระรามจึงทรงทราบว่าพระมงกุฎพระลบเป็นโอรส พระรามตามมาถึงอาศรม
ฤษี และง้องอนขอให้นางสีดากลับไปอยู่กรุงศรีอยุธยา นางสีดาไม่ยอมกลับแต่ให้พระมงกุฎ
พระลบไปอยู่กับพระราม ต่อมาพระรามคิดอุบายให้หนุมานไปลวงนางสีดาว่าพระองค์
สิ้นพระชนม์แล้ว นางสีดาจึงกลับเข้ามา แต่เมื่อทราบว่าพระรามไม่ตายจริงก็โกรธ ลงไป
อาศัยอยู่ยังเมืองบาดาล พิเภกมาเฝ้าพระรามทูลขอให้เสด็จออกป่า ๑ ปี เพื่อเป็นการ
สะเดาะเคราะห์ ได้รบกับยักษ์อีกแต่ก็ชนะทุกครั้งจนกลับคืนเข้าเมือง ต่อมาพระอิศวรจึง
เกลี้ยกล่อมให้พระรามและนางสีดาคืนดีกัน และจัดการอภิเษกให้อีกครั้งหนึ่ง
ภาคที่ ๕ เป็นภาคสุดท้ายเริ่มเรื่องด้วยท้าวคนธรรพ์ซึ่งเป็นยักษ์เช่นเดียวกันไปตีเมือง
ไกยเกษซึ่งเป็นเมืองของพระอัยกา (ตา) พระพรตได้ พระรามจึงมีรับสั่งให้พระพรต พระ
สัตรุด พระมงกุฏ และพระลบยกทัพไปปราบปราม และตีเมืองไกยเกษคืนได้
ตอนท้ายเป็นการสรรเสริญพระรามและบอกถึงปีที่ทรงพระราชนิพนธ์ (คือการประชุม
86
กวีช่วยกันแต่งประกอบพระราชนิพนธ์) ในพ. ศ. ๒๓๔๐
86 ส านักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล, จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์รอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดา
ราม, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส านักกินแบ่งรัฐบาล, 2538), ไม่ปรากฏเลขหน้า.