Page 17 - kpi20863
P. 17

หากพิจารณาตัวเลขการน่าเข้าวัสดุก่อสร้างจากต่างประเทศเข้ามาในสยาม ในช่วงพ.ศ. 2470 - พ.ศ.

               2476 (ตารางที่ 1.2 และตารางที่ 1.3) เห็นได้ว่าการน่าเข้าวัสดุก่อสร้างลดลงอย่างมีนัยส่าคัญในพ.ศ. 2474
               หรือปีเศษหลังเกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป  วัสดุบางรายการลดปริมาณการ

               น่าเข้าเพียงช่วงระยะสั้นๆ จากนั้นก็กลับทวีปริมาณเพิ่มขึ้นไปเท่าเดิมหรือมากกว่า  แม้ปีพ.ศ. 2475 เอง ก็ดูจะ

               ไม่ได้มีผลลบต่อปริมาณการน่าเข้าวัสดุก่อสร้างโดยรวมเท่าใดนัก หรืออีกนัยหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
               พ.ศ. 2475 อาจมิได้ส่งผลโดยตรงต่อความเปลี่ยนแปลงในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในประเทศไทยโดยตรงก็

               เป็นได้


                       2.1.2 สังคม

                       นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (2535) ได้สรุปโครงสร้างสังคมสยามในช่วงเวลานี้ไว้ว่า สามารถแบ่งกลุ่มทาง

               สังคมออกได้เป็นห้ากลุ่มหลักๆ คือ เจ้านาย ข้าราชการ คนชั้นกลางนอกระบบราชการ ราษฎรสามัญชน และ
                                                                                                        9
               ปัญญาชน แต่ละกลุ่มล้วนมีความเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงปริมาณ วัฒนธรรม ความคิด โลกทัศน์ ไปตามยุคสมัย
               กลุ่มทางสังคมเหล่านี้ก่อตัวมาครบห้ากลุ่มแล้วตั้งแต่การสถาปนารัฐราชการ (Bureaucratic State) ในรัชกาล

               ที่ 5 และยังคงการแบ่งช่วงแบ่งกลุ่มดังนี้สืบมา อย่างน้อยจนถึงรัชกาลที่ 8  อย่างไรก็ดี ลักษณะร่วมที่ส่าคัญ
               ประการหนึ่ง คือ การตระหนักรู้ถึงการเข้าสู่สมัยใหม่ (modernization) ของสยาม การขยายตัวของการศึกษา

               และการสาธารณสุข ตลอดจนพัฒนาการการสื่อสารและสื่อสมัยใหม่ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นวนิยาย หรือ

               วิทยุ ท่าให้ชนทุกชั้นรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงในสังคม อันเป็นกระบวนการที่เริ่มขึ้นแล้วอย่างน้อยก็ตั้งแต่
                        10
               รัชกาลที่ 6   ความรู้สึกถึงยุคใหม่ สมัยใหม่นี้ปรากฏชัดในสังคมเมือง โดยเฉพาะเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นทั้ง
               ศูนย์กลางการปกครอง และเมืองท่า เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่เปิดรับวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่อง

               ตลอดทั้งรัชสมัย ในทุกช่วงชั้นของสังคม ตัวอย่างเช่น พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ชั้นสูงทรงสนพระทัยใน
               การถ่ายภาพยนตร์ ฝ่ายราษฎร ข้าราชการ พ่อค้า ก็นิยมการชมภาพยนตร์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น

                       ข้อมูลเชิงปริมาณที่ส่าคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 7 คือการส่ารวจส่ามะโนครัว

               ทั่วพระราชอาณาจักรในพ.ศ. 2472 อันเป็นการส่ารวจส่ามะโนครัวทั้งประเทศทุกๆ 10 ปี ส่าหรับการส่ารวจ
               ส่ามะโนครัวเมื่อพ.ศ. 2472 นั้นท่าพร้อมกันทั้งประเทศในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 รวบรวมข้อมูลภูมิ

               ประเทศ พลเมือง แยกชาติ ภูมิประเทศที่เกิดของชนต่างด้าว อายุบุคคล การปลูกไข้ทรพิษ การหาเลี้ยงชีพของ

                                     11
               พลเมือง พาหนะและอาวุธ   ผลการส่ารวจพ.ศ. 2472 ระบุว่าสยามมีพลเมือง 11,506,207 คน เพิ่มขึ้นกว่า
               พลเมืองในการส่ารวจส่ามะโนครัวครั้งก่อนหน้าเมื่อพ.ศ. 2462 (ซึ่งมี 9,207,355 คน) ถึง 2,298,852 คน หรือ

                                                                         12
               อัตราประชากรเพิ่ม 24.56 คนต่อประชากร 1,000 คนในรอบทศวรรษ
                       หากพิจารณาในแง่ความหนาแน่นของประชากรในมณฑลกรุงเทพฯ (ภาพที่ 2-02) ซึ่งมีพื้นที่ 2,815
               ตารางกิโลเมตรในพ.ศ. 2472 เช่นเดียวกับในพ.ศ. 2462  การส่ารวจส่ามะโนครัวทั่วพระราชอาณาจักรในพ.ศ.

               2472 ระบุว่าในพ.ศ. 2472 มณฑลกรุงเทพฯ มีประชากรทั้งสิ้น 921,617 เพิ่มขึ้นจากพ.ศ. 2462 (ซึ่งมี





                                                            10
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22