Page 20 - kpi20863
P. 20

17
               Sayre) ถวายความเห็นเรื่องแนวทางในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองพร้อมร่างรัฐธรรมนูญ   อย่างไรก็
               ดี เมื่อรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้น่าความเห็นของพระยากัลยาณไมตรีเข้าสู่ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา คณะ
               อภิรัฐมนตรีก็มีความเห็นว่าประเทศสยามน่าจะยังไม่พร้อมส่าหรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ

               สมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวในเวลานั้น หากรัฐบาลควรมุ่งปรับปรุงระบบการ

               บริหารราชการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิมมากกว่า

                       จากกรอบความคิดดังกล่าว ตลอดรัชสมัยของพระองค์ รัชกาลที่ 7 มีพระราชด่าริที่จะวางรากฐาน

               การเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนในเบื้องต้นในหลายรูปแบบ ทั้งแนวความคิดเรื่อง

               เทศบาล (municipality) คือการปกครองที่กระจายอ่านาจให้ท้องถิ่นบริหารงบประมาณและก่าหนดนโยบาย
               ในการพัฒนาท้องถิ่นเอง เพื่อฝึกหัดให้ประชาชนรู้จักการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปด่าเนินกิจการ

               ของท้องถิ่น โดยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยตั้งคณะกรรมการร่างพระราชบัญญัติเทศบาล

               ขึ้นในพ.ศ. 2473 คณะกรรมการดังกล่าวร่างพระราชบัญญัติเทศบาลแล้วเสร็จแต่ยังมิทันได้ประกาศใช้ก็เกิด
               การเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นเสียก่อนในพ.ศ. 2475 พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงประกาศใช้ในเวลาต่อมา คือ

                           18
               ในพ.ศ. 2476

                       แนวพระราชด่าริเกี่ยวกับการปกครองท้องที่ที่ส่าคัญอีกประการหนึ่ง คือการทดลองตั้งสภาจัดบ่ารุง
               สถานที่ ชายทะเลทิศตะวันตก ขึ้นในพ.ศ. 2469 ตามพระราชบัญญัติจัดบ่ารุงสถานที่ ชายทะเลทิศตะวันตก

                                                          19
               (The Western Seaside Resorts Act B.E. 2469)  มีอ่านาจครอบคลุมพื้นที่ชายทะเลตั้งแต่ต่าบลบ้านชะอ่า
               ถึงต่าบลเขาเต่า เป็นระยะประมาณ 45 กิโลเมตร (ภาพที่ 2-05) โดยมีกรรมการและคณะที่ปรึกษาซึ่งมีอ่านาจ
               ในการวางโครงการและท่าแผนผังเพื่อการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ตลอดจนก่าหนดอัตราภาษีอากรส่าหรับการ

                                                                     20
               บ่ารุงรักษาสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสาธารณสุขในพื้นที่

                       นอกจากแนวความคิดและการทดลองนโยบายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น การปกครองตนเอง และ
               การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเหล่านี้ รัฐบาลสยามยังได้พยายามปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินให้

               มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตอบสนองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสยามที่เปลี่ยนไป ตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจและ

               สังคมสมัยใหม่ มีการพัฒนาระบบข้าราชการพลเรือน การคัดเลือกคนเข้ารับราชการ และการใช้ระบบคุณธรรม
               (merit system) ในระบบราชการ ซึ่งน่าไปสู่การตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช

                    21
               2471  เป็นต้น



               2.2 เมือง : บริบทของสถาปัตยกรรม


                       บริบทเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองดังกล่าวเป็นปัจจัยให้เกิดเมืองสมัยใหม่ ทั้งกรุงเทพฯ

               และหัวเมืองใหญ่ๆ ที่เป็นบริบทให้แก่สถาปัตยกรรมไทยในช่วงรัชกาลที่ 7  การขยายตัวของประชากรที่เพิ่ม




                                                            13
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25