Page 32 - kpi20863
P. 32
นานาชาติว่าด้วยศิลปตกแต่งและอุตสาหกรรมสมัยใหม่ (Exposition internationale des arts décoratifs
et industriels modernes) ซึ่งจัดขึ้นที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปีพ.ศ. 2468 สถาปัตยกรรมแบบอาร์ต
เดโคมีลักษณะผสม คือมีผังและทรวดทรงอาคารแบบคลาสสิค แต่เปลี่ยนเครื่องตกแต่งอาคารแบบคลาสสิค
เป็นองค์ประกอบเรขาคณิต โดยเฉพาะลวดลายเรขาคณิต การใช้เส้นสายที่สื่อถึงความเร็ว ความทันสมัย มัก
ประดับตกแต่งอาคารด้วยประติมากรรมที่มีลักษณะลดทอนด้วยเช่นกัน ตัวอย่างอาคารแบบอาร์ต เดโคใน
ประเทศไทย ได้แก่ การตกแต่งภายในพระต่าหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล (พ.ศ. 2471, ภาพที่ 2-30 และ 2-31)
ศาลาเฉลิมกรุง (พ.ศ. 2476) ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. 2483) เป็นต้น
ทั้งรูปแบบอาร์ต นูโว และอาร์ต เดโค มีลักษณะร่วมคือเป็นรูปแบบเครื่องตกแต่งภายในและภายนอก
อาคาร มากกว่าจะเป็นเนื้อหาสาระส่าคัญของสถาปัตยกรรม เช่น ผังพื้น ทั้งสองรูปแบบเกิดขึ้นในโลก
ตะวันตก ในลักษณะของปฏิกิริยาต่อรูปแบบประวัติศาสตร์นิยม ความต้องการรูปแบบใหม่ที่สะท้อนยุคสมัย
ปัจจุบัน ทว่ามิได้มีการตั้งค่าถามต่อสถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยมในระดับทฤษฎี แนวความคิด หรือ
ปรัชญาการออกแบบแต่อย่างใด อาร์ต นูโว และอาร์ต เดโคจึงเป็นรูปแบบ (style) ที่ด่ารงอยู่เพียงชั่วระยะ
สั้นๆ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และสิ้นสุดความนิยมไปเมื่อสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern
Architecture) ทวีอิทธิพลขึ้นโดยล่าดับ ตั้งแต่ราวทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นมา
2.3.4 สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture)
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) เป็นปฏิกิริยาต่อต้านรูปแบบประวัติศาสตร์นิยมที่
ก่อตัวขึ้นในโลกตะวันตกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยอาศัยระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม เทคโนโลยี
อาคารและวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบ ปรัชญาการออกแบบ และแนวความคิด
ร่วมกัน ได้แก่ การปฏิเสธรูปแบบสถาปัตยกรรมในประวัติศาสตร์ การใช้วัสดุก่อสร้างสมัยใหม่อย่างไม่ปิดบัง
สัจจะของโครงสร้างและวัสดุ การขึ้นรูปทรงสถาปัตยกรรมโดยอาศัยเหตุผลทางหน้าที่ใช้สอย (functional
design) หรือการรับรู้ทางสายตา (visual perception) เป็นหลัก มากกว่าการยึดถือจารีตแบบแผนอย่าง
สถาปัตยกรรมคลาสสิค (Classicism) หรืออารมณ์ความรู้สึกประทับใจของสถาปัตยกรรมโรแมนติค
(Romanticism) โดยสถาปนิกสมัยใหม่รุ่นแรกอย่างปีเตอร์ เบห์เรนส์ (Peter Behrens) ออตโต วากเนอร์
(Otto Wagner) และออกุสต์ แปร์เรต์ (Auguste Perret) ได้ทดลองสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ใช้โครงสร้าง
เหล็กหรือคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งแต่เดิมใช้เฉพาะกับอาคารอุตสาหกรรมและงานวิศวกรรมโยธา มาทดลอง
สร้างรูปทรงใหม่ๆ ที่เน้นศักยภาพและสัจจะของโครงสร้างสมัยใหม่นั้น
ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องถึงช่วงต้นรัชกาลที่ 6 แนวทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เริ่มก่อตัว
ชัดเจนขึ้น ในผลงานสถาปัตยกรรมและข้อเขียนเชิงทฤษฎีของสถาปนิกนานาชาติ เช่น วอลเตอร์ โกรเปียส
(Walter Gropius) เลอ คอร์บูซิเอร์ (Le Corbusier) อดอล์ฟ โลส์ (Adolf Loos) ลุดวิก มีส แวน เดอร์ โรห์
(Ludwig Mies Van der Rohe) ยา ยา เป โอวีด (J. J. P. Oud) และแกร์ริท รีทเวล์ด (Gerrit Rietveld) เป็น
ต้น สถาปนิกเหล่านี้น่าเสนอแนวทางใหม่ในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้นไปอีก เน้น
25