Page 28 - kpi20863
P. 28
การขยายโครงข่ายการคมนาคม การติดต่อสื่อสาร ทั้งภายในและภายนอกพระราชอาณาจักร มีการวาง
นโยบายพัฒนาโครงการสาธารณูปโภค สาธารณูปการขนาดใหญ่ ตลอดจนการออกพระราชบัญญัติ พระราช
ก่าหนด และมาตรการในการก่าหนดทิศทางในการพัฒนาเมือง ทั้งการผังเมืองและการก่อสร้างอาคาร ด้วย
ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ เมืองกรุงเทพฯ กลายเป็นมหานครสมัยใหม่ที่มีพลเมืองหนาแน่น มีการสัญจรทางบก
มากขึ้นกว่าในรัชกาลก่อนๆ หลายเท่าทวีคูณ มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ได้วางรากฐานไว้แล้วใน
รัชกาลก่อนๆ เอื้อให้เกิดพื้นที่เมืองสมัยใหม่ที่รองรับพลเมืองที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างใหม่ ควบคู่ไปกับ
พื้นที่เมืองดั้งเดิมที่เป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวน้่า ท่ามกลางกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงรัชสมัย
(ภาพที่ 2-16 และ 2-17)
2.3 บริบทสถาปัตยกรรมโลก
ในบริบทสถาปัตยกรรมโลก ช่วงรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 – 2477) ตรงกับช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 –
1930 อันเป็นช่วงที่โลกตะวันตกเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายมหาศาลในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่
1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 ความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเกิดขึ้นในบริบทของโลกตะวันตก และค่อยๆ ส่ง
อิทธิพลมาสู่สยาม ทั้งโดยตรงและโดยผ่านสถาปัตยกรรมและเมืองอาณานิคมของมหาอ่านาจชาติตะวันตกใน
เอเชีย เกิดเป็นบริบททางสถาปัตยกรรมที่สลับซับซ้อน ทั้งยังถูกหล่อหลอมด้วยบริบทเฉพาะถิ่นของสยามเอง
ทั้งสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่
2.3.1 สถาปัตยกรรมกับการผลิตแบบอุตสาหกรรม
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสถาปัตยกรรมตะวันตกที่ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern
Architecture) นั้นเริ่มต้นขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว การปฏิวัติอุตสาหกรรมท่าให้ระบบการผลิตวัสดุก่อสร้างและระบบการก่อสร้างอาคารกลายเป็น
ระบบอุตสาหกรรม เกิดวัสดุก่อสร้างใหม่ๆ เช่น เหล็กหล่อ (cast iron) เหล็กกล้า (steel) กระจกแผ่น (plate
glass) และคอนกรีตเสริมเหล็ก (reinforced concrete หรือ ferro-concrete) วัสดุสมัยใหม่เหล่านี้ยังให้
สถาปัตยกรรมและวิศวกรรมก้าวหน้าไปมาก ทั้งโครงสร้างช่วงกว้าง อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ การผลิต
อาคารจ่านวนมาก หรือการผลิตชิ้นส่วนอาคารแบบส่าเร็จรูป (pre-fabrication) ดังปรากฏในตัวอย่างอาคาร
เช่นคริสตัลพาเลซ (Crystal Palace) ออกแบบโดยโจเซฟ แพกซ์ตัน (Joseph Paxton) เพื่อการแสดง
นิทรรศการนานาชาติในปีพ.ศ. 2394 (ภาพที่ 2-18) อาคารโฮมอินชัวรันซ์ (Home Insurance Building)
ออกแบบโดยวิลเลียม เลอ บารอน เจนนีย์ (William Le Baron Jenney) เป็นอาคารส่านักงานสมัยใหม่ที่เป็น
ตึกสูง 10 ชั้นในนครชิคาโก สหรัฐอเมริกา ก่อสร้างในปีพ.ศ. 2427 (ภาพที่ 2-19) และหอไอเฟล (Eiffel
Tower) ออกแบบโดยกุสตาฟ ไอเฟล (Gustave Eiffel) ในปีพ.ศ. 2432 เพื่อการแสดงนิทรรศการนานาชาติที่
นครปารีส อาคารเหล่านี้สะท้อนถึงความต้องการรูปแบบสถาปัตยกรรมใหม่ส่าหรับสังคมสมัยใหม่ ที่อาศัย
ศักยภาพของระบบอุตสาหกรรมการผลิตและเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นแรงขับเคลื่อน
21