Page 27 - kpi20863
P. 27
เรือนจ่ากลางบางขวางบ่อยครั้ง สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตจึงกราบบังคมทูล
ยืนยันถึงความจ่าเป็นที่จะสร้างถนนกรุงเทพฯ – นนทบุรีขึ้นอีกครั้ง จนรัฐบาลเริ่มก่อสร้างถนนสายดังกล่าว
44
ในช่วงปลายพ.ศ. 2474 นั้นเอง (ภาพที่ 2-14)
ส่วนทางทิศใต้ รัฐบาลริเริ่มตัดถนนกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ มาแล้วตั้งแต่พ.ศ. 2471 โดยเป็นถนน
ที่ตั้งต้นจากปลายถนนเพลินจิต เลียบแนวแม่น้่าเจ้าพระยาลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามคลองพระโขนง
คลองบางนา และคลองส่าโรง จนมาถึงศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ ถนนสายนี้กระทรวงมหาดไทยได้ให้
กรมนคราทรด่าเนินการสร้าง โดยขอความอนุเคราะห์ที่ดินจากเจ้าของที่ดินตามแนวถนนนั้น และใช้
แรงงานคนที่ไม่เสียเงินรัชชูปการปักกรุยและพูนดินท่าถนนเป็นตอนๆ เริ่มตั้งแต่ด้านถนนเพลินจิตจนถึงคลอง
45
พระโขนงก่อน ถนนสายนี้คือส่วนหนึ่งของถนนสุขุมวิทในปัจจุบัน ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475
กระทรวงมหาดไทยจึงด่าเนินการก่อสร้างถนนนั้นต่อ ตั้งแต่คลองพระโขนงจนถึงศาลากลางเมือง
สมุทรปราการ
46
ส่าหรับทิศตะวันตกนั้น ในพ.ศ. 2473 รัฐบาลมีโครงการสร้างถนน 4 สาย ทางฝั่งธนบุรี เพื่อรองรับ
การขยายตัวของการคมนาคมหลังการก่อสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าแล้วเสร็จลงในพ.ศ. 2475 ตามความใน
หนังสือกราบบังคมทูลความเห็นของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดี
กระทรวงมหาดไทย ว่า “จะต้องมีถนนหนทางและจัดวางแผนผังฝั่งธนบุรี เพื่อสะดวกแก่จราจรของยวดยาน
พาหนะสืบไป” โดยนายชาลส์ โบดาร์ต (Charles Baudart) นายช่างนคราทร ได้ออกแบบถนนดังกล่าว (คือ
ถนนประชาธิปก ถนนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถนนสมเด็จเจ้าพระยา และถนนอิสรภาพในปัจจุบัน) พร้อมวง
เวียนใหญ่ (rond point) ที่รอยต่อถนนประชาธิปกกับถนนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น
47
17,200 เมตร (ภาพที่ 2-15) ต่อมาสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตยังมีพระด่าริ
ให้ตัดถนนซอยเพิ่มอีก 6 สาย รวมเป็นถนนใหม่ทางฝั่งธนบุรี 10 สาย พร้อมสร้างท่าเรือส่าหรับขนส่งสินค้าอีก
2 แห่ง ก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงพ.ศ. 2474 – 2475 ตามล่าดับ
นอกจากถนนเหล่านี้แล้ว ในรัชกาลที่ 7 ยังมีการตัดถนนใหม่ๆ ภายในพระนคร เพื่อเสริมโครงข่ายการ
คมนาคมทางบกเดิมที่มีมาแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ให้สมบูรณ์ขึ้นตามความต้องการของมหานคร
สมัยใหม่ ได้แก่ การตัดเจริญเมือง ถนนจารุเมือง ถนนจรัสเมือง และถนนมหาพฤฒาราม (พ.ศ. 2470) ถนนวิ
48
สุทธิกษัตริย์ (พ.ศ. 2471) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงพื้นผิวถนนสายส่าคัญๆ ในพระนครโดยการ
ปรับแก้เป็นถนนโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ราดทับหน้าด้วยยางแอสฟัลต์ (asphalt) ได้แก่ ถนนราชด่าเนิน
กลาง ถนนบริพัตร ถนนหลานหลวง ถนนพาหุรัด ถนนพลับพลาไชย และถนนพาดสาย ในพ.ศ. 2471 – 2472
49
อีกด้วย
ด้วยบริบทของการพัฒนาเมืองและองค์ประกอบเมืองต่างๆ ที่กล่าวมา เมืองกรุงเทพฯ ตลอดจนหัว
เมืองส่าคัญๆ ของสยามจึงก้าวเข้าสู่สมัยใหม่อย่างช้าๆ ตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยที่องค์พระประมุขและรัฐบาลในพระปรมาภิไธยต่างเข้าใจโอกาสและปัญหาของเมืองใหญ่ๆ ที่ก่าลังปรากฏ
ชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยล่าดับ เช่น ปัญหาสุขอนามัย อัคคีภัย ความหนาแน่นของประชากรในเมือง หรือโอกาสใน
20