Page 29 - kpi20863
P. 29
พัฒนาการส่าคัญอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกัน คือพัฒนาการเทคโนโลยีอาคาร เช่น ระบบ
ไฟฟ้า ทั้งไฟฟ้าแสงสว่างและไฟฟ้าก่าลัง ท่าให้อาคารสมัยใหม่สว่างไสวในเวลากลางคืนโดยปราศจาก
ภยันตรายของอัคคีภัย ต่างจากอาคารในสมัยก่อนหน้าที่ใช้แสงสว่างจากแก๊สหรือถ่านหิน ไฟฟ้ายังเป็น
พลังงานส่าคัญส่าหรับลิฟท์และบันไดเลื่อน ที่เป็นอุปกรณ์ส่าคัญส่าหรับอาคารสูงหรืออาคารสาธารณะขนาด
ใหญ่ นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับการใช้ระบบปรับอากาศ (air-conditioning system) ภายในอาคาร ทั้งอาคาร
สาธารณะและอาคารพักอาศัย พัฒนาการเทคโนโลยีอาคารเหล่านี้ล้วนมีผลต่อพัฒนาการรูปแบบ
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา
ระบบการก่อสร้างและเทคโนโลยีอาคารสมัยใหม่ยังให้เกิดแนวทางสถาปัตยกรรมใหม่ที่แตกต่างจาก
รูปแบบสถาปัตยกรรมในอดีต คือรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยม (Historicism) ที่อาศัยการ
อ้างอิงรูปแบบสถาปัตยกรรมจากพงศาวดารการก่อสร้างของโลกตะวันตก เช่น สถาปัตยกรรมคลาสสิค
(Classical Architecture) สถาปัตยกรรมกอธิค (Gothic Architecture) เป็นต้น ในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 เออ
แชน วิโอเลต์ เลอ ดุค (Eugène Viollet-le-Duc) นักประวัติศาสตร์และทฤษฎีสถาปัตยกรรมชาวฝรั่งเศส เริ่ม
เรียกร้องให้สถาปนิกออกแบบอาคารที่ตอบสนองต่อพลวปัจจัยร่วมสมัย มีการแสดงออกถึงหน้าที่ใช้สอย
โครงสร้าง และวัสดุ อย่างตรงไปตรงมา โดยมิต้องอ้างอิงถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมในอดีตอย่างหนึ่งอย่างใด
แนวความคิดของวิโอเลต์ เลอ ดุคนี้ส่งอิทธิพลอย่างมากต่อสถาปนิกสมัยใหม่รุ่นบุกเบิก เช่น หลุยส์ ซัลลิแวน
(Louis Sullivan) และปีเตอร์ เบห์เรนส์ (Peter Behrens)
2.3.2 รูปแบบประวัติศาสตร์นิยม (Historicism)
รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยม คือการอ้างอิงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจากอดีต รื้อฟื้น
กลับมาใช้ในบริบทที่ต่างสมัยกัน จึงเรียกอีกอย่างว่า รูปแบบรีไววัล (revival style) เช่น รูปแบบกอธิครีไววัล
(Gothic Revival) คือการเลือกใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมกอธิค สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 12 – 14 มาใช้ใหม่ใน
สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค (Neoclassicism) คือการใช้รูปแบบสถาปัตยกรรม
คลาสสิคในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันตก คือสถาปัตยกรรมกรีก และสถาปัตยกรรมโรมัน มาใช้ใหม่
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต่อเนื่องถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ภาพที่ 2-20) สถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์
นิยมทรงอิทธิพลมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยที่ระบบการก่อสร้างและเทคโนโลยีอาคาร
สมัยใหม่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การวางผังอาคารกลายเป็นการจัดวางพื้นที่ รูปทรงและขนาดที่ว่าง (space) ที่
เหมาะสม โดยเน้นความสมมาตรแบบมีแนวแกน (axial symmetry) ล่าดับชั้นของพื้นที่ว่าง (spatial
hierarchy) และการใช้เส้นตาราง (grid) เป็นเครื่องก่ากับผังพื้นให้มีระบบระเบียบ (ภาพที่ 2-21) เหมาะสมกับ
ระบบโครงสร้าง ทั้งหมดนี้เป็นคนละส่วนจากการออกแบบรูปร่างหน้าตาของอาคาร ซึ่งผู้ออกแบบสามารถ
เลือกใช้รูปแบบใดก็ได้จากรูปแบบสถาปัตยกรรมในประวัติศาสตร์ โดยค่านึงถึงความเหมาะสม ลักษณะส่าคัญ
(character) ของอาคารและการใช้สอยหรือการสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ เช่น อาคารรัฐสภา
(Parlamentsgebäude) ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ออกแบบโดยนายเธโอฟิล ฮันเซน (Theophil
22