Page 30 - kpi20863
P. 30
Hansen) สถาปนิกชาวเดนมาร์กในพ.ศ. 2426 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบกรีก รีไววัล (Greek Revival)
ด้วยผู้ออกแบบต้องการสื่อความหมายถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเชื่อกันว่ามีต้นก่าเนิดที่กรุง
เอเธนส์ (ภาพที่ 2-22) ส่วนอาคารรัฐสภา (Westminster Palace) ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เซอร์
ชาลส์ บาร์รี (Sir Charles Barry) สถาปนิก ออกแบบอาคารในพ.ศ. 2383 โดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมกอธิค
รีไววัล (Gothic Revival) เพื่ออ้างอิงถึงประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของรูปแบบเพอร์เพนดิคูลาร์ กอธิค
(Perpendicular Gothic) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมของอังกฤษแท้ๆ มิใช่สถาปัตยกรรมแบบ
คลาสสิค ซึ่งถือก่าเนิดขึ้นในอาณาจักรกรีกและจักรวรรดิโรมัน (ภาพที่ 2-23)
กล่าวอีกนัยหนึ่ง สถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยมท่าให้การออกแบบผังพื้นอาคารกับการ
ออกแบบรูปร่างหน้าตาอาคารแยกออกจากกัน ผังพื้นผังเดียวอาจมีรูปลักษณ์หน้าตาได้หลายรูปแบบ ตามแต่
จินตนาการและการอ้างอิงรูปแบบในอดีตของสถาปนิก ศูนย์กลางของการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมแบบ
ประวัติศาสตร์นิยมในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือสถาบันเอโกล เดส์ โบซาร์ต (École des Beaux-Art) ที่กรุง
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่มาทรงอิทธิพลต่อการออกแบบ
สถาปัตยกรรมในทวีปยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 มุ่งให้นักเรียนศึกษาแบบอย่างสถาปัตยกรรมกรีกและ
โรมันอย่างละเอียดถี่ถ้วน ทั้งจากการบรรยาย การรังวัด และการเขียนแบบ เพื่อศึกษาวิธีจัดวางองค์ประกอบ
(composition) การออกแบบรายละเอียด การใช้สี (polychromy) ของสถาปัตยกรรมคลาสสิค จนกระทั่ง
สามารถน่ามาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบของตนเอง ควบคู่ไปกับการฝึกฝนอย่างจารีต เช่น การวาดภาพกาย
วิภาค (anatomical sketch) และการวาดภาพ เป็นต้น (ภาพที่ 2-24)
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อเนื่องถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมแบบนีโอ
คลาสสิคกลายเป็นภาษาสากลของสถาปัตยกรรมในโลกอาณานิคม ทั้งในทวีปแอฟริกา อเมริกา และเอเชีย
ด้วยเป็นเครื่องมือที่มหาอ่านาจตะวันตกใช้ประกาศความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ (superiority) เหนือผู้ถูกปกครอง มี
รูปแบบซึ่งมีที่มาจากประวัติศาสตร์ตะวันตก ต่างไปจากสถาปัตยกรรมพื้นเมืองของผู้ถูกปกครองอย่างชัดเจน
อิทธิพลของรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยมในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อเนื่อง
ถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เอง ที่ส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมอย่างตะวันตกในสยาม ในช่วง
รัชกาลที่ 5 ท่ามกลางบริบทของการล่าอาณานิคมของมหาอ่านาจตะวันตกในทวีปเอเชีย ชนชั้นน่าสยามได้
เลือกใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยมของตะวันตก ในการประกาศภาวะความ “ศิวิไลซ์” ของ
สยาม โดยการว่าจ้างสถาปนิกฝรั่งชาติต่างๆ ทั้งอิตาเลียน อังกฤษ เยอรมัน ฯลฯ ให้ออกแบบก่อสร้างอาคาร
ต่างๆ ทั้งอาคารสาธารณะและอาคารพักอาศัย ในรูปแบบตะวันตก เช่น รูปแบบสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค
(Neoclassicism) ในอาคารพระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน (พ.ศ. 2415, ภาพที่ 2-25) โรงทหาร
หน้า (พ.ศ. 2424) วังบูรพาภิรมย์ (พ.ศ. 2424) ศาลสถิตย์ยุตติธรรม (พ.ศ. 2425) และศุลกสถาน (พ.ศ.
2427) รูปแบบสถาปัตยกรรมนีโอเรอเนสซองส์ (Neo-Renaissance) เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (พ.ศ.
2425, ภาพที่ 2-26) โรงเรียนทหารสราญรมย์ (พ.ศ. 2433) และพระที่นั่งบรมพิมาน (พ.ศ. 2445) นอกจากนี้
ยังมีอาคารในรูปแบบกอธิครีไววัล (Gothic Revival) เช่น พระอุโบสถ วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (พ.ศ. 2420,
23