Page 31 - kpi20863
P. 31

ภาพที่ 2-27) ตึกแม้นนฤมิตร และตึกโชฎึกเลาหเศรษฐี โรงเรียนวัดเทพศิรินทราวาส (พ.ศ. 2438) และ

               พรรณนาคาร วัดประยุรวงศาวาส (พ.ศ. 2439) เป็นต้น
                       อย่างไรก็ดี เมื่อกระแสของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ทวีก่าลังขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวทาง

               สถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยมก็เริ่มเสื่อมความนิยมลงโดยล่าดับ ทว่าหลักการในการออกแบบของ

               สถาบันเอโกล เดส์ โบซาร์ตก็ยังคงทรงพลังอยู่มาก โดยเฉพาะในอาคารสถาบัน อาคารราชการ ที่ต้องการเพียง
               รูปทรงอาคารที่สง่ามั่นคง ผังอาคารที่ตรงไปตรงมาและมีรูปร่างพื้นที่ว่างที่ดี ตลอดจนรายละเอียด

               สถาปัตยกรรมที่ประณีตและเป็นที่คุ้นเคยของสาธารณชน น่าไปสู่รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคลดทอน

               (Stripped Classicism) คือรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ยังคงเค้าโครง รูปทรง และสัดส่วนของสถาปัตยกรรม
               คลาสสิค ทว่าลดทอนเครื่องตกแต่งและรายละเอียดอาคารลงไปจนเหลือเท่าที่จ่าเป็น อันเป็นรูปแบบที่นิยมใช้

               ในอาคารสาธารณะทั่วๆ ไปในโลกตะวันตก โดยเฉพาะในช่วงเวลาสองทศวรรษระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1

               และสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงหมายรวมถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย รูปแบบ
               สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคลดทอนนี้เป็นที่นิยมในสมัยนั้น เพราะสามารถผสมผสานเทคนิควิทยาการก่อสร้าง

               สมัยใหม่เข้ากับความสง่างามของสถาปัตยกรรมคลาสสิค ทั้งยังประหยัดค่าก่อสร้างเมื่อสามารถลดทอน

               รายละเอียดเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมที่ไม่จ่าเป็นออกไปด้วย


                       2.3.3 รูปแบบอาร์ต นูโว (Art Nouveau) และอาร์ต เดโค (Art Deco)

                       รูปแบบอาร์ต นูโว (Art Nouveau) เป็นปฏิกิริยาของศิลปิน นักออกแบบ และสถาปนิกชาวตะวันตก
               ต่อแนวทางประวัติศาสตร์นิยมในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยพยายามค้นหาแรงบันดาลใจของรูปทรง

               จากเส้นสายของธรรมชาติ โดยเฉพาะพรรณพืช มักเน้นรูปทรงที่อ่อนช้อยและเปี่ยมด้วยความเคลื่อนไหวและ

               ความโปร่งเบา สอดคล้องกับการใช้วัสดุสมัยใหม่อย่างเหล็กและกระจก รูปแบบอาร์ต นูโวถือก่าเนิดขึ้นใน
               ประเทศเบลเยียมและฝรั่งเศสในราวทศวรรษที่ 2440 ในงานออกแบบบ้านพักอาศัย การตกแต่งภายใน

               ตลอดจนสถานีรถไฟใต้ดินของอองรี วาน เดอ เวล์ด (Henry Van de Velde)  วิคเตอร์ ออร์ตา (Victor

               Horta) และเอ็คเตอร์ กีมาร์ด (Hector Guimard) จากนั้นรูปแบบนี้จึงเป็นที่นิยมทั้งในทวีปยุโรปและ
               สหรัฐอเมริกาอยู่ระยะหนึ่ง เรียกว่ารูปแบบยูเกนสติล (Jugendstil) ในเยอรมนี  เซเซสซิออง (Secession) ใน

               ออสเตรีย สติล ลิแบร์ตี (Stile Liberty) ในอิตาลี และโมแดร์นิสโม (Modernismo) ในสเปน  ส่าหรับ

               สถาปัตยกรรมในสยามนั้น พบการตกแต่งภายในแบบอาร์ต นูโวในอาคารบางหลัง เช่น พระที่นั่งอภิเษกดุสิต
               (พ.ศ.2447, ภาพที่ 2-28) พระที่นั่งอัมพรสถาน (พ.ศ. 2449, ภาพที่ 2-29)  ต่าหนักสมเด็จ วังบางขุนพรหม

               (พ.ศ. 2456) พระที่นั่งอนันตสมาคม (พ.ศ. 2459) และพระราชวังพญาไท (พ.ศ. 2464)

                       รูปแบบอาร์ต เดโค (Art Deco) เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมและมัณฑณศิลป์ที่ปรากฏขึ้นในประเทศ
               ฝรั่งเศสในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีลักษณะเด่นที่การสร้างรูปแบบใหม่จากเส้นสายเรขาคณิตที่สะท้อนถึง

               ความก้าวหน้า ความหรูหรา ความเร็ว หรือความลี้ลับของสถาปัตยกรรมโบราณ ผสมผสานเส้นสายลดทอน

               ของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เข้ากับวัสดุที่สูงค่า โดยเรียกกันว่าอาร์ต เดโค (Art Deco) ตามชื่อนิทรรศการ


                                                            24
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36