Page 45 - kpi20863
P. 45
เพื่อท างานให้กับบริษัทเบอร์ลิ (Berli & Co.) เป็นสถาปนิกและวิศวกรประจ าเหมืองแร่ที่บริษัทเบอร์ลิได้รับ
9
สัมปทานที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมานายเบเกอแลงลาออกจากบริษัทเบอร์ลิ และเข้ารับราชการที่กรม
ทดน้ า ต่อมาในพ.ศ. 2463 ได้ย้ายมารับราชการเป็นนายช่าง กองวิศวกรรม กรมสาธารณสุข
10
กระทรวงมหาดไทย มีผลงานเป็นที่น่าพอใจแก่ราชการ ทั้งยังมีงานออกแบบส่วนตัว คืออาคารพักอาศัยของ
เจ้านายและผู้มีฐานะในพระนครเป็นจ านวนมาก จนถึงพ.ศ. 2476 เมื่อรัฐบาลสยามเริ่มปลดหรือไม่ต่อสัญญา
จ้างข้าราชการต่างประเทศ นายเบเกอแลงก็ยังคงรับราชการอยู่ต่อ โดยโอนย้ายมาเป็นนายช่างใหญ่ กอง
11
สถาปัตยกรรม กรมโยธาเทศบาล จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2477 จึงขอลาออกจากราชการ จากนั้นนาย
เบเกอแลงได้พาภรรยาและธิดาสามคนเดินทางกลับสวิส ไปใช้ชีวิตที่กรุงเบิร์น ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
12
และวิศวกรรมต่อมา และถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ. 2522
ในพ.ศ. 2470 นายเบเกอแลงได้รับมอบหมายให้ออกแบบอาคารศาลและโรงเรียนกฎหมาย ให้
ทันสมัยทัดเทียมมาตรฐานศาลในทวีปยุโรป ได้แสดงความเห็นของตนต่อสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรม
พระนครสวรรค์วรพินิต ดังความในลายพระหัตถ์ที่ทรงสรุปความนั้น สะท้อนแนวทางในการออกแบบของนาย
เบเกอแลงได้อย่างน่าสนใจ ความว่า
“ฉันได้พบนายเบเกอแลง ซักไซ้ฟังความคิดดูแล้ว เห็นว่ามีเค้าความรู้สึกในการที่จะต้องออกแบบให้
งดงามภาคภูมิสมควรแก่เรื่อง แต่กล่าวว่าถ้าจะให้ออกแบบเป็นลายไทยแล้ว ไม่สามารถท าได้ หรือจะให้
ออกแบบเป็นลายฝรั่งอย่างคลาสสิกอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ไม่รับท า เพราะเป็นการฝืนนิสัย ไม่ชอบที่จะท า แต่
13
ถ้าให้ท าเป็นแบบมอเดิร์นแล้ว ยินดีที่จะท า” ผลงานสถาปัตยกรรมในสยามของนายเบเกอแลงจึงมีรูปแบบที่
เป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่มากกว่าของช่างฝรั่งคนอื่นๆ มักลดทอนเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมให้เหลือน้อย
ที่สุด และออกแบบอาคารตามประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก มากกว่าการมุ่งใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ
ประวัติศาสตร์นิยม
3.4.3 นายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey)
นายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey) เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2423 ที่เมืองฮัลล์ (Hull
บางครั้งเรียกชื่อเต็มว่า Kingston-upon-Hull) แคว้นยอร์กเชียร์ (Yorkshire) ประเทศอังกฤษ บิดาชื่อแซมวล
14
จอร์จ ฮีลีย์ (Samuel George Healey) สันนิษฐานว่าในชั้นต้นนายฮีลีย์คงได้เข้าศึกษาวิชาศิลปะที่โรงเรียน
ศิลปะประจ าเมืองฮัลล์ (Kingston-upon-Hull Municipal School of Art) และมีความรู้ความช านาญ
พอสมควร จนได้รับคัดเลือกให้เป็นครูผู้ช่วยสอนวิชาศิลปะ (Art Assistant) ระหว่างพ.ศ. 2443 ถึงพ.ศ. 2446
ในพ.ศ. 2446 นายฮีลีย์ได้เข้าศึกษาต่อในราชวิทยาลัยศิลป (Royal College of Art) กรุงลอนดอน
โดยได้เข้าศึกษาในโรงเรียนสถาปัตยกรรม (School of Architecture) จนส าเร็จการศึกษา ได้รับ
ประกาศนียบัตร (Diploma) จากนั้นจึงได้ศึกษาเพิ่มเติมในโรงเรียนอื่นๆ ในสังกัดราชวิทยาลัยศิลป นอกจากนี้
นายฮีลีย์ยังได้ศึกษาวิชาครู (Methods of Teaching) โดยที่มีความจ านงมาตั้งแต่แรกเข้าศึกษาที่ราชวิทยาลัย
ศิลปแล้ว ว่าจะประกอบอาชีพครูสอนศิลปะต่อไปในอนาคต จึงพยายามศึกษาวิชาแขนงต่างๆ ให้ลึกซึ้ง
61