Page 73 - kpi20863
P. 73
36
จระน าสกัดหลังตั้งเป็นลับแล มีศิลาจารึกอยู่ด้านหลัง” ลับแลนี้ทรงออกแบบให้ช่วงกลางสูง ตีเส้นเซาะรอง
ทางนอนให้ดูหนักแน่นมั่นคง เว้าเข้าไปเป็นซุ้มจรณัม ท าเสาแปดเหลี่ยมสองต้นรองรับคานทับหลังจ าหลักลาย
เฟื่องอุบะที่เบื้องบน ตามแบบสถาปัตยกรรมขอมพื้นหลังซุ้มจรณัมกระกระเบื้องโมเสคสีทองเพื่อขับให้องค์พระ
บรมรูปลอยเด่น ที่ยอดลับแลมีซุ้ม ประดิษฐานพระราชลัญจกรอุณาโลม อันเป็นตราพระราชสัญลักษณ์
ด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์มีลานกว้าง ตามแนวพระด าริแรกเริ่มในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติ
วงศ์ที่จะ “ท ารูปสนองพระองค์ตั้งในที่เปิดเผยให้เป็นสง่า” เป็นงานประติมากรรมขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โล่ง
ที่สามารถรองรับการ “ประชุมกันถวายบังคมเป็นงานใหญ่ประจ าปี” ได้มาจนทุกวันนี้ เป็นพระบรมราชานุสาว
รีย์ที่มีรูปแบบศิลปกรรมประวัติศาสตร์นิยม (Historicism) แบบไทยผสมขอม ที่ดูงดงามกลมกลืนไปกับเสา
สะพานพระพุทธยอดฟ้าแบบอาร์ต เดโค (Art Deco) ที่ออกแบบโดยนายเอมิลิโอ ฟอร์โน (Emilio Forno)
ตลอดจนการออกแบบภูมิทัศน์ถนนและลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่นายช่างของศิลปากรสถานเป็น
37
ผู้ออกแบบ กรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ก่อสร้างตามแบบแปลน
4.3.2 พระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์
พระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นโครงการก่อสร้างที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ตามพระราชด าริว่าพระ
อุโบสถหลังเดิมซึ่งสร้างสมัยรัชกาลที่ 4 มีสภาพทรุดโทรมจึงรื้อลง และ การคงค้างมาจนถึงรัชกาลที่ 7 ในพ.ศ.
2471 หม่อมเจ้าธ ารงศิริ ศรีธวัช สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี ทูลขอให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม
พระด ารงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา ซึ่งได้ทูลขอให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ อุป
38
นายกราชบัณฑิตยสภา ทรงออกแบบอาคารขึ้นใหม่ (ภาพที่ 4-61 และ 4-62) เป็นพระอุโบสถขนาดเล็ก มีผัง
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดห้าห้อง ต่อมุขด้านหน้าเป็นทางเข้า มุขด้านหลังเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน มี
ประตูเข้าสู่ภายในอาคารสามด้านคือ ประตูหน้า 1 ช่อง และประตูด้านข้าง 2 ช่อง หลังคาจั่วมีหลังคาปีกนก
รอบ เพิ่มมุขประเจิดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตรงกับมุขทางเข้าและมุขที่ประดิษฐานพระประธาน รูปทรง
อาคารค่อนข้างทึบและเรียบง่าย ไม่ตกแต่งประดับประดาด้วยเครื่องล ายอง เว้นแต่ส่วนไขราหน้าบันที่ท าเป็น
39
ลายกนกซิเมนต์หล่อเรียบๆ สถาปนิกทรงสร้างความน่าสนใจในผนังภายนอกด้วยการถอยผนังระหว่างช่วง
เสาเข้าไปให้เห็นแนวเสาและแนวคานเป็นสามมิติรอบอาคาร
เมื่อแบบขั้นต้นของพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์เป็นที่พอพระทัยของสมเด็จฯ กรมพระด ารงราชานุ
ภาพแล้ว ก็โปรดให้ประทานแบบนั้นต่อไปยังสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี ทรงจัดหาผู้รับเหมามา
ด าเนินการก่อสร้างตามแบบของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์นั้น โดยประทานแบบรายละเอียด
40
เพิ่มเติมเป็นล าดับมา จนถึงราวพ.ศ. 2475 การก่อสร้างจึงเรียบร้อยสมบูรณ์ ทั้งนี้หนังสือโต้ตอบระหว่าง
สมเด็จฯ กรมพระด ารงราชานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ และหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์
ผู้อ านวยการศิลปากรสถานชี้ให้เห็นความน่าสนใจของการออกแบบอาคารหลังนี้สองประการ ประการแรก
สถาปนิกทรงค านึงถึงมิติทางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน เพราะองค์พระประธาน คือพระพุทธรูปศิลาขาวนั้น เป็น
พระพุทธรูปปางประทานปฐมเทศนาสมัยทวารวดี ที่มีการขุดพบและอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานใน
102