Page 10 - kpi21595
P. 10

“อำนาจ” ในการกระทำการใดๆแก่พลเมืองตามต้องการโดยไม่ทำให้เสียประโยชน์ผู้อื่น 3.ป้องกันทรัพย์สมบัติ

               ของพลเมือง และ 4.ทำให้ทุกคนในสังคมได้รับความยุติธรรมเสมอกัน ด้วยเหตุนี้เอง บทบาทของพลเมืองจึง
               เปลี่ยนแปลงไปและต้องมีความสัมพันธ์กับรัฐชาติมากขึ้นอย่างน้อย 4 ประการ 1.ต้องประพฤติความดีแก่

               บ้านเมืองนับตั้งแต่ต้องบำรุงเลี้ยงบุตรหญิงชายของตน ดูแลบิดามารดา ประพฤติดี ทำมาหากินโดยชอบธรรม

               ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ประทุษฐร้ายต่อบ้านเมืองและผู้ปกครองบ้านเมือง 2. ช่วยกำลังบ้านเมือง คือ เสียภาษี
               อากร 3. ช่วยรักษาบ้านเมืองให้สงบราบคาบคือรับหน้าที่เป็นผู้ใหญ่ หรือสมัครอาสาเป็นพลตระเวน

               พลตำรวจภูธร ทำการรักษาท้องที่เพื่อตรวจตราจับกุมผู้ประพฤติผิดกฎหมายและผู้ร้าย 4. ช่วยรักษาความ
               ยุติธรรม และการปกครองบ้านเมือง นับตั้งแต่ต้องเป็นพยานในศาลและให้การโดยตรงโดยจริง และนับถือเชื่อ

               ฟังผู้มีหน้าที่ทำการของรัฐบาลและไม่แจ้งความเท็จ เป็นต้น

                       จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าภายใต้แนวคิดเรื่องรัฐสมัยใหม่ทำให้รัฐชาติและพลเมืองของรัฐพึงมีบทบาท
               หน้าที่ต่อกันอย่างชัดเจนมากขึ้น เพื่อธำรงรักษาซึ่งความเป็นชาติและพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมือง

               เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของมนุษย์อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเกิดรัฐตามแนวคิดของ
                              4
               ปรัชญาการเมือง   อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่อง “พลเมือง” ในความหมายของ citizen แบบตะวันตกที่พึงมี
                                                         5
               บทบาทในการพัฒนาตนเองและพึงมีหน้าที่ต่อรัฐ   ในสังคมไทยก็พบว่ายังมีความคลุมเครือ คาดว่ายังไม่เกิด
               ขึ้นกับสังคมไทยก่อนหน้าที่รัฐไทยจะก้าวสู่รัฐสมัยใหม่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
               ข้อมูลจาก อักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเล ที่ตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2416 ได้ให้คำจำกัดความคำว่า “พลเมือง”

               ในแง่ที่เป็น “ราษฎรชาวเมือง”  หรือคนทั่วไป เช่นเดียวกับคำว่า “ไพร่” ซึ่งหมอบรัดเลได้สรุปความเข้าใจของ

                                                                                            6
               คนในสังคมขณะนั้นว่าหมายถึง “คนราษฎรที่เปนชาวเมืองมิใช่ขุนนาง, เปนแต่พลเรือน”   คำว่าพลเมืองที่
               ปรากฏในสังคมไทยแต่เดิมจึงไม่ได้มีนัยที่เชื่อมกับบทบาทหน้าที่ของพลเมืองตามแบบตะวันตกแต่เป็นเพียงคำ

               จำกัดความกลุ่มคนในชาติเท่านั้น คำว่าพลเมืองจึงไม่ได้มีความหมายที่แตกต่างไปจาก ชาวบ้าน ชาวเมือง
               ชาวป่า ชาวดอย ในเรื่องของการเป็นราษฎรของแผ่นดิน จะแตกต่างกันก็เพียงพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่เท่านั้น
                                                                                                        7
                       ข้อความตอนหนึ่งจากหนังสือกราบบังคมทูลของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีเมื่อครั้งยังดำรง

                                                                                                         8
               บรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
               ชี้ให้เห็นว่า แม้ผู้คนบางส่วนจะมีสำนึกบางประการที่เปลี่ยนไปภายใต้สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป

               อย่างไรก็ตาม ผู้คนส่วนมากก็ยังไม่มีสำนึกตระหนักถึงบทบาทของชาติที่มีต่อตนและบทบาทของตนที่พึงมีต่อ




               4  วีระ สมบูรณ์. ทฤษฎีการเมืองกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2561. หน้า 161.
               5  เพิ่งอ้าง, หน้า 170-172.
               6  แบรดเลย์, แดนบีช. อักขราภิธานศรับท์. พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา, 2514. หน้า 464 และ 472.
               7  อ่านเพิ่มเติมในบที่ จารุวรรณ แก้วมะโน. “บทที่ 3 ความหมายและการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่าชาวบ้าน”. ใน วาทกรรม “ชาวบ้าน”
               กับการจำกัดตนเองในการมีส่วนร่วมทางการเมือง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551. และ ศริพจน์ภาษาไทย์
               ของบาทหลวงเวย์ ที่ตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2439
               8  พระราชหัตถเลขาและหนังสือกราบบังคมทูลของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี. (แต่ยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระมนตรีพจนกิจและพระยาวิ
               สุทธสุริยศักดิ์ พ.ศ. 113-118 พ.ศ.2437-2442) พิมพ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี ท.จ. 12 เม.ย. พ.ศ.
               2508. ฉบับลงวันที่ 29 พ.ย. ร.ศ.114.


                                                                                                        2
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15