Page 9 - kpi21595
P. 9
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ภายใต้แนวคิดเรื่องรัฐสมัยใหม่ (modern state) ซึ่งมีองค์ประกอบทางด้านดินแดน อำนาจอธิปไตย
รัฐบาลและประชากรปรากฎชัดเจนขึ้นนั้น “พลเมือง” คือหนึ่งในสี่องค์ประกอบสำคัญของรัฐสมัยใหม่ซึ่งได้รับ
ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆนอกเหนือจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ครั้งหนึ่งเคยทำให้บางประเทศมี
ความมั่งคั่ง เพราะภายใต้รัฐสมัยใหม่ประเทศจะพัฒนา มีความมั่งคั่ง มั่นคงไม่ได้ หากปราศจากประชากรที่มี
สำนึกต่อความสำคัญของรัฐชาติ (nation state) และตระหนักในบทบาทหน้าที่ของพลเมืองที่พึงมีต่อรัฐชาติทั้ง
ในยามสงบและในยามสงคราม ต้องยอมรับว่าภายใต้รัฐสมัยใหม่การสงครามไม่ใช่เพียงอย่างเดียวที่จะธำรงไว้
ซึ่งรัฐชาติ แต่กิจการต่างๆเมื่อยามชาติสงบทั้งในเรื่องการค้าและการพัฒนากำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กำลัง
ขับเคลื่อนรัฐชาติให้มั่งคั่งและมั่นคง ดังเช่นที่ รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด ระบุไว้ในเรื่อง ระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิวัฒนาการรัฐไทย ว่าสยามไม่อาจปฏิเสธการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกได้
1
ภายใต้แพ็กซ์บริแทนนิกา (Pax Britannica) ซึงเรียกร้องให้สยามต้องผันตนเองมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอย่างสำคัญ
ภายใต้สนธิสัญญาเบาริ่ง ส่งผลให้สยามต้องการแรงงานจำนวนมากนอกเหนือจากแรงงานเสรีชาวจีนในขณะนั้น
และผลักดันให้สยามต้องมีการปฏิรูปในหลายด้านสู่ความเป็นสมัยใหม่ ข้อเสนอดังกล่าวสอดคล้องกับงานของ
2
พีรทิพย์ สุคันธเมศวร์ ในงานเรื่อง การปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่นำไปสู่การสร้างรัฐชาติ ที่ชี้ให้เห็น
ว่าระบบไพร่เริ่มเสื่อมลงมากแล้วในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะปรากฏว่าไพร่
ส่วยที่ยอมจ่ายเงินแทนการเข้าเวรนั้นมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้คนเหล่านี้ทำการค้าได้มากขึ้นกว่าเก่า
และมีทุนรอนมากขึ้นกว่าเดิม ในแง่นี้เศรษฐกิจของสยามได้เปลี่ยนรูปจากเศรษฐกิจแบบยังชีพมาเป็นเศรษฐกิจ
แบบการค้ามากขึ้น เรื่องนี้กลายเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็น
ความจำเป็นในการยกเลิกระบบคุมกำลังไพร่พลแบบเดิม เพราะสำนึกและบทบาทของประชากรภายใต้รัฐสมัย
ใหม่นั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไป
ไม่เพียงแต่บทบาทของพลเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและ
การเมืองข้างต้น บทบาทของรัฐเองก็เปลี่ยนแปลงไปและหันมาเน้นมิติด้านการพัฒนามากขึ้น ข้อมูลจากหนังสือ
เรื่อง พลเมืองดีตอนต้น ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ชี้ให้เห็นว่ารัฐสมัยใหม่พึงมีบทบาทต่อ
3
พลเมืองอย่างน้อย 4 ประการคือ 1. ป้องกันชีวิตพลเมือง 2. ให้ความสุขสำราญแก่พลเมือง โดยรัฐจะมอบ
1 กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์: วิวัฒนาการรัฐไทย. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2562. หน้า 3-20.
2 พีรทิพย์ สุคันธเมศวร์. การปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่นำไปสู่การสร้างรัฐชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์
(2549) หน้า 40-47.
3 พระเสด็จสุเรนทราธิบดี. เจ้าพระยา. พลเมืองดี ตอนต้น ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี. โรงพิมพ์อักษรนิติ์. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ไม่ปรากฏปีที่
พิมพ์).
1