Page 11 - kpi21595
P. 11
ชาติมากนัก กระนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่จะพัฒนาไม่ได้ ดังความว่า “...คนของเรามิใช่โง่ดื้อเถื่อนไปหมด ดังชาวป่าก็หา
ไม่ ที่ฉลาดดีก็มีถมไป หากไม่ได้ความรู้และความประพฤติดีเป็นเครื่องประดับ ฉลาดก็พาไปให้ปล้นและฉ้อเขา
ที่เรียบร้อยก็ไม่มีช่องอันใดจะอุดหนุนให้เปิดเผย ก็พาความฉลาดจมอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าเชื่อในคำว่า “กรุงศรี
อยุธยาไม่สิ้นคนดี...” พร้อมทั้งกราบบังคมทูลฯเสนอความเห็นเรื่องการ “ปลูกกำลังคน” ให้เป็นส่วนหนึ่งในการ
ปฏิรูปประเทศสยามในขณะนั้น เพราะท่านได้เล็งเห็นว่าภายใต้รัฐสยามที่ต้องเข้าสู่กระแสโลกนั้น กิจการในยาม
สงบก็มีความสำคัญอย่างยิ่งไม่เพียงแต่กิจการในภาวะสงครามเช่นแต่ก่อน ดังความว่า “...การพลเรือนย่อมเป็น
การใหญ่และสำคัญมากมายหลายประการ ...ทหารของประเทศทุกวันนี้ใช่จะเอากำลังและฝีมือไปตีชิงเขามาได้
ตามบ้านเล็กเมืองน้อยเช่นทหารแต่ก่อน ... ก็เห็นได้ว่าการพลเรือนย่อมเป็นกำลังของทหาร...” และว่า “... แต่
ที่จริงบรรดาข้าศึกศัตรูทุกวันนี้ที่จะมุ่งหมายกระทำย่ำยีซึ่งกันและกันก็ไม่จ้องดูและคร้ามเกรงที่ตัวทหารเหมือน
การทัพศึก ซึ่งต่อสู้ด้วยฝีมือกันอย่างแต่ก่อน การทุกวันนี้ย่อมคร้ามเกรงกันด้วยกำลังพลทหารที่มากและกำลัง
เครื่องศาสตราวุธและเครื่องรบทั้งปวง ก็กำลังพลทหารและเครื่องรบทั้งสองอย่างนี้จะมีมาได้ด้วยประการใด
9
ย่อมมีมาได้ด้วยความสุขของไพร่บ้านพลเมือง ความบริบูรณ์ของวิชาและการทำมาค้าขาย..”
เรื่องของการสร้างสำนึกพลเมืองให้แก่ราษฎรทั่วไปนั้น เป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญอยู่แล้ว การปฏิรูปหลายด้านของพระองค์คือหลักฐานเชิงประจักษ์ในการ
ปรับเปลี่ยนบทบาทของรัฐสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและมีพันธกิจต่อพลเมืองของรัฐมากขึ้นซึ่งเป็นเรื่องใหญ่
และยากยิ่ง กระนั้น เรื่องที่ใหญ่และยากกว่าก็คือการสร้างและพัฒนาสำนึกความเป็นพลเมืองให้แก่ราษฎรของ
รัฐที่กระจายอยู่ตามที่ต่างๆทั่วราชอาณาจักรสยามทั้งที่เป็น ชาวบ้าน ชาวเมือง ชาวป่า ชาวดอย ให้มีสำนึกของ
ความเป็นพลเมืองสมัยใหม่ ที่พึงมีบทบาทบางประการร่วมกันกับรัฐเพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นรัฐชาติในภาพรวม
การปฏิรูปการศึกษานับเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสำนึกพลเมืองดังกล่าว เพราะพลเมืองไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้น
มาตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่ต้องปลูกและสร้างขึ้น ดังที่ พลาโตนักปรัชญาชาวกรีกชี้ให้เห็นว่าพลเมืองที่เอาการ
10
เอางานนั้นจะเกิดขึ้นได้จากการปลูกฝังคุณธรรมผ่านการศึกษาไม่ใช่เกิดมาแล้วผู้ใดก็เป็นพลเมืองได้โดยทันที
ความข้อนี้สอดคล้องกับงานวิชาการด้านการส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองทั้งของไทยและต่างประเทศ
หลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่าการสร้างความเป็นพลเมืองนั้นจำเป็นต้องกระทำผ่านการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนา
ทักษะให้แก่พลเมือง อาทิ งานของคุณทิพย์พาพร ตันติสุนทร และ อาจารย์ปริญญา เทวนฤมิตรกุล ในเรื่อง
เกี่ยวกับการศึกษาสำหรับพลเมือง งานของสถาบันพระปกเกล้าเรื่องโครงการสร้างสำนึกพลเมือง (Project
Citizen) งานของ Center for Civic Education และงานของ Charles N. Quigley ในเรื่องของ Civic
Education เป็นต้น
สำหรับสังคมไทย เรื่องของการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองเริ่มต้นอย่างจริงจังในรัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงทรงมีพระราชดำรัส
ให้ปรับปรุงการศึกษาใหม่ที่จะพัฒนาพลเมืองให้เข้าใจในเรื่องของบทบาทความเป็นพลเมือง อาทิ พระองค์ทรง
มีพระราชดำริให้มีการปรับปรุงแบบเรียนให้สั้นกระชับขึ้น และทรงมีพระบรมราชโองการให้มีการสำรวจแบบ
9 เพิ่งอ้าง, ฉบับลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2441, หน้า 213-219.
10 ธเนศวร์ เจริญเมือง. พลเมืองกับสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2560. หน้า 32.
3