Page 13 - kpi21595
P. 13
เป็นจังหวัดนำร่องในการดำเนินโครงการดังกล่าว ภายใต้แนวคิดการสร้างความเป็นพลเมืองอย่างบูรณาการกับ
หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม โดยมุ่งหวังว่ากระบวนการที่ดำเนินการจะสามารถสร้างความเป็น
พลเมืองที่มีความตระหนักรู้ (concerned citizen) และมีความกระตือรือร้น (active citizen) ในการทำหน้าที่
พลเมืองของตนให้แก่กลุ่มเป้าหมายในจังหวัดร้อยเอ็ดได้ ตลอดจนสามารถเป็นแนวทางในการสร้างความเป็น
พลเมืองให้แก่หน่วยงานอื่นที่สนใจในการสร้างความเป็นพลเมืองอย่างบูรณาการต่อไป
โครงการนี้ มีสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการ
จัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมความเป็นพลเมืองดังกล่าวตลอดจนเป็นผู้ดำเนินการในพื้นที่ ในการถ่ายทอด
ความรู้และพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยสู่คนในระดับพื้นที่ตามแผนปฏิบัติการ
สำหรับแผนการสร้างความเป็นพลเมืองนั้น แบ่งออกเป็นสองระยะ ระยะแรกคือการสร้างแกนนำพลเมืองใน
พื้นที่ เนื่องจากการขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่นั้นแกนนำพลเมืองในพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญ
ดังนั้น สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง จึงมุ่งเน้นพัฒนาแกนนำพลเมืองขึ้นในระยะแรก จากนั้น ระยะที่สอง
สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองจะผลักดันสนับสนุนให้แกนนำพลเมืองที่ผ่านการอบรมขยายผลการสร้าง
ความเป็นพลเมืองสู่คนในพื้นที่ผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง ปฏิบัติการดังกล่าวมุ่งดำเนินการกับ
อำเภอนำร่อง 10 แห่งของจังหวัดร้อยเอ็ด โดยแบ่งปฏิบัติการออกเป็นปีละ 5 อำเภอ ดังนี้ ปี 2559 ดำเนินการ
กับ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอโพนทอง อำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอปทุมรัตต์ ส่วนปี 2560
ดำเนินการกับ อำเภอเสลภูมิ อำเภอจังหาร อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอพนมไพร และอำเภอหนองพอก
ที่ผ่านมา สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า ดำเนินโครงการดังกล่าวเรียบร้อย
แล้ว ซึ่งผู้วิจัยได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ปฏิบัติการเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองของสำนักส่งเสริมการเมืองภาค
พลเมืองมาโดยตลอดและได้จัดเก็บข้อมูลแบบสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องมาเป็นระยะ อันนำมาสู่
ข้อมูลชุดหนึ่งที่มีความสำคัญและสามารถนำมาใช้ศึกษาเพื่อต่อยอดการพัฒนาแนวทางการสร้างสำนึกพลเมือง
สู่คนในสังคมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไปได้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้จัดทำโครงการวิจัยวัดความเป็นพลเมืองในพื้นที่
บูรณาการขึ้น เพื่อให้ทราบว่าภายใต้ปฏิบัติการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองของสถาบันพระปกเกล้าภายใต้
โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองนั้น สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้
และพลเมืองกระตือรือร้นได้หรือไม่ในลักษณะใด โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการศึกษาที่ได้จะเป็นแนวทางการ
พัฒนาโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพลเมืองที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง
พลเมืองในพื้นที่บูรณาการ
2. เพื่อศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่
5