Page 12 - kpi21595
P. 12
แผนการศึกษาของชาติต่างๆเพื่อจัดทำเป็นแผนการศึกษาแห่งชาติสยามขึ้น ขณะเดียวกัน แบบเรียนเพื่อสอน
สำนึกความเป็นพลเมืองโดยตรงก็ได้รับการประพันธ์ขึ้น อาทิ งานของ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เรื่อง
พลเมืองดีตอนต้น พลเมืองดีตอนกลาง พลเมืองดีตอนปลาย การศึกษาข้างบ้าน และสมบัติผู้ดี เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กว่าที่ร่างแผนการศึกษาฉบับแรกจะมีขึ้นปีเป็นพ.ศ.2441 ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขด้านการสงครามที่
โอบล้อมสยามอยู่ในขณะนั้น จึงทำให้น้ำหนักในการพัฒนาเน้นไปที่ด้านกลาโหม กระนั้น แม้จะมีแผนการศึกษา
แห่งชาติแล้ว แต่การพิจารณาผลักดันแผนการศึกษาสู่การปฏิบัติก็ไม่ใช่เรื่องง่าย มีความติดขัดในหลายประการ
อาทิ เนื้อหาจะนำมาจากประเทศใด จะขยายการศึกษาอย่างไร เพราะแต่ก่อนนั้นแต่ละพื้นที่อยู่ห่างไกลกันมาก
การเดินทางก็ลำบาก ครูก็มีไม่พอ ชาวบ้านยากจนไม่มีเงินส่งบุตรหลานเรียน ขณะที่รัฐเองก็ต้องใช้งบประมาณ
11
ในการพัฒนาประเทศด้านอื่นไม่อาจนำมาสนับสนุนการศึกษาฟรีให้แก่ราษฎรได้ในขณะนั้น ส่งผลให้กว่า
พระราชบัญญัติประถมศึกษา ฉบับแรกได้ประกาศใช้เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2464 นับเป็นเวลกว่า 30 ปีในการ
ผลักดันการศึกษาสำหรับพลเมือง นับตั้งแต่ที่กระทรวงธรรมการหรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันได้ก่อตั้งขึ้น
ในปี 2430 และนับจากนั้นเป็นต้นมา การพัฒนาประชากรให้มีสำนึกความเป็นพลเมืองที่มีบทบาทหน้าที่ต่อรัฐ
จึงได้รับความสนใจพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย บทบาทของพลเมืองก็เปลี่ยนแปลงไป
กล่าวคือ มีการมุ่งเน้นส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองมากขึ้น อันเป็น
จุดเด่นสำคัญของการปกครองในระบอบนี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญมีอยู่อย่างน้อยสองประการที่พลเมืองใน
ระบอบประชาธิปไตยพึงตระหนัก ประการแรกคือ ตระหนักรู้ว่าพวกตนมีสิทธิและเสรีภาพในการมีส่วนร่วม
สร้างสรรค์การเมืองการปกครองที่ดีร่วมกันกับรัฐตลอดจนตระหนักในศักยภาพของตนเองว่าสามารถสร้างการ
เปลี่ยนแปลงต่อสังคมและการเมืองได้ ประการที่สองคือตระหนักถึงการสร้างสมดุลระหว่างการใช้สิทธิเสรีภาพ
และหน้าที่ความรับผิดชอบต่อรัฐและสังคม เพื่อเป็นการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการพัฒนาตนเองไปพร้อมๆกัน
กับการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติ ในแง่นี้ การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (civic education)
สำหรับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้พลเมืองตระหนักในการแสดงออกอย่าง
เหมาะสมไม่เน้นหนักไปที่เรื่องสิทธิเสรีภาพเพียงอย่างเดียว และตระหนักถึงมิติอื่นๆของการเป็นพลเมืองใน
ระบอบประชาธิปไตยไปพร้อมกันด้วย
สถาบันพระปกเกล้า เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการศึกษาสำหรับพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตย จึงได้กำหนดให้ส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของสถาบัน
พระปกเกล้า โดยมุ่งหวังส่งเสริมและสร้างพลเมืองที่มีสำนึกประชาธิปไตย ตระหนักรู้ (concerned citizen)
ในความสำคัญและบทบาทภารกิจของพลเมืองต่อการส่งเสริมประชาธิปไตย ตลอดจน ลงมือปฏิบัติตนและ
แสดงออกซึ่งความเป็นพลเมือง ในฐานะพลเมืองที่มีความกระตือรือร้น (active citizen) โดยในปีงบประมาณ
2559-2561 สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดทำโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและถ่ายทอดได้ ซึ่งคัดเลือกจังหวัดร้อยเอ็ด
11 วุฒิชัย มูลศิลป์. สมเด็จพระปิยมหาราชกับการปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี, 2554.
4