Page 124 - kpi21595
P. 124
กล่าวโดยสรุปได้ว่า ในส่วนของปัจจัยนำเข้า ทั้งตัวแกนนำพลเมือง โครงการที่แกนนำพลเมืองเลือก
ดำเนินการในพื้นที่เพื่อส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองสู่ชุมชน จำนวนโครงการที่ดำเนินการและรูปแบบ
ของโครงการที่แกนนำพลเมืองดำเนินการ โดยตัวของปัจจัยนำเข้าทั้งหลายสามารถเป็นได้ทั้งปัจจัยที่ส่งเสริม
หรือขัดขวางต่อการสร้างความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนได้ทั้งสิ้นขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็น
ว่าแกนนำพลเมืองนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำองค์ความรู้เรื่องบทบาทและความสำคัญของพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตยไปสู่คนในชุมชนได้จริง โดยผลจากการสัมภาษณ์พบว่าแกนนำพลเมืองทุกอำเภอมีความสามารถ
ในการเรียนรู้และการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องพลเมืองได้ แม้จะมีลักษณะของการเลือกรับรู้เลือกจำและเลือก
ถ่ายทอดชุดความรู้ที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของตนอันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางชีวภาพที่สามารถพบเจอได้
กับทุกคนจึงไม่ควรหยิบยกข้อจำกัดดังกล่าวมาเป็นเงื่อนไขที่ขัดขวางต่อการส่งเสริมความเป็นพลเมืองเพราะไม่
เป็นธรรมนัก อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดอื่นๆอาทิ การประสานงานภายใน และเงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น
ก็ทำให้แกนนำพลเมืองยังไม่สามารถแสดงศักยภาพในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนได้มากนัก ดัง
สะท้อนได้จากจำนวนโครงการที่แกนนำพลเมืองดำเนินการในพื้นที่ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด และรูปแบบของ
โครงการที่มีความไม่สมบูรณ์ในองค์ประกอบของการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตามทฤษฎี
กล่าวคือ บางโครงการเน้นการอบรมเพียงอย่างเดียว ขณะที่บางโครงการเน้นที่การปฏิบัติเพียงอย่างเดียว โดย
ไม่มีช่องทางในการเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องบทบาทและความสำคัญของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
อย่างเหมาะสม ทั้งยังพบว่ายังไม่มีการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องอีกด้วย แม้จะมีหลายโครงการที่
รูปแบบของกิจกรรมนั้นมีความครบถ้วนในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองเพราะมีการเสริมความรู้และส่งเสริม
การลงมือปฏิบัติไปพร้อมกันตามทฤษฎี อาทิ โครงการโรงเรียนพลเมืองและโครงการขยะไร้ถังที่อำเภอเสลภูมิ
นำมาประยุกต์ใช้ภายใต้ชื่อโครงการขยะแลกใจ แต่ผลการศึกษาก็ชี้ให้เห็นว่าโครงการเหล่านั้นยังไม่ถูกใช้อย่าง
มีประสิทธิภาพมากนัก
ปัจจัยด้านกระบวนการ
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า “ความเป็นพลเมือง” คือ คุณลักษณะประการหนึ่งที่ไม่อาจถ่ายทอดได้โดยการ
อบรมเท่านั้นแต่จำเป็นต้องมีการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายได้มีการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองไป
พร้อมกันด้วย ดังนั้น “กระบวนการ” ที่แกนนำพลเมืองเลือกมาใช้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชน
จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือตามทฤษฎีแล้วหากมีการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำมาก
เท่าใดก็จะก่อให้เกิดการพัฒนาสำนึกความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และสร้างพฤติกรรมความเป็นพลเมืองได้มาก
ขึ้นเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายจะได้เรียนรู้ว่าความเป็นพลเมืองตามทฤษฎี สามารถแสดงออกอย่างไร
ในรูปแบบใดบ้าง ได้ทดลองถูกผิด และก่อให้เกิดการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การตกผลึกทางความคิดและก่อเกิด
พฤติกรรมบางอย่างในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษารูปแบบโครงการ/กิจกรรมที่แกนนำพลเมืองเลือกดำเนินการเพื่อ
ส่งเสริมความเป็นพลเมืองในพื้นที่ของตนกลับชี้ให้เห็นว่า กระบวนการที่แกนนำพลเมืองเลือกใช้เพื่อผลักดัน
โครงการและกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองในพื้นที่นั้นยังมีลักษณะ “รวมศูนย์ทางความคิด” และ
113