Page 126 - kpi21595
P. 126
ขณะที่ ระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม คนในชุมชนก็ไม่ได้รับบทบาทให้ต้องแสดงหรือมีกิจกรรมอะไร
นอกไปจากการฟังบรรยายและการทำกิจกรรมที่ถูกกำหนดไว้เช่น การเพาะเห็ด การปลูกต้นไม้ การใส่บาตร
หรือ การสานตะกร้าเพื่อปลูกต้นไม้เท่านั้น โดยเนื้อหาที่บรรยายก็มักเน้นไปที่กิจกรรมที่แกนนำพลเมือง
ต้องการนำเสนอเป็นหลักไม่ได้เน้นที่สาระสำคัญของการเป็นพลเมืองและความเชื่อมโยงระหว่างการเป็น
พลเมืองกับกิจกรรมที่พวกเขาเลือกมาดำเนินการในพื้นที่มากนัก ขณะที่ ภายหลังกิจกรรมก็ไม่ได้มีการติดตาม
กระตุ้น ส่งเสริมให้เกิดการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังไม่มีการประเมินผลร่วมกันว่าโครงการหรือ
กิจกรรมที่ได้แนะนำให้คนในชุมชนทำนั้นส่งผลอย่างไรบ้าง ดีหรือไม่ดีอย่างไร ควรปรับปรุงอย่างไร เพื่อให้
โครงการและกิจกรรมเหล่านั้นตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนได้มากที่สุด จึงกล่าวได้ว่ากระบวนการ
ส่งเสริมความเป็นพลเมืองผ่านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมคิดร่วมทำร่วมประเมินและเรียนรู้ร่วมกันนั้นยังไม่ได้
รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพมากนักโดยแกนนำพลเมือง
ดังนั้น แม้ว่าแกนนำพลเมืองจะทำงานหนักในการแสวงหาความรู้ในเรื่องราวต่างๆมากเพียงใด
เพื่อที่จะนำมาถ่ายทอดสู่คนในชุมชน เช่น การที่นักเรียนพลเมืองตำบลสะอาดสมบูรณ์แสวงหาแนวทางการ
สานตะกร้าจากไม้ไผ่และเศษผ้าด้วยตนเอง เพื่อนำมาถ่ายทอดให้แก่คนในชุมชน หรือการที่แกนนำพลเมือง
อำเภอพนมไพร แสวงหาแนวทางการเพาะเห็ด การที่แกนนำพลเมืองอำเภอปทุมรัตต์ต้องแสวงหาเครือข่าย
เพื่อผลักดันให้เกิดกิจกรรมในพื้นที่ของตน แต่สุดท้านแล้วหากแกนนำพลเมืองยังขาดประสิทธิภาพในการสร้าง
การมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมดำเนินกิจกรรม ร่วมประเมินผล ตลอดจนร่วมรับผลจากกิจกรรมและเรียนรู้ที่จะ
พัฒนาโครงการร่วมกันต่อไป การสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
เพราะกระบวนการเหล่านี้คือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองตามหลักทฤษฎี
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
ข้อมูลจากการสำรวจเอกสารชี้ให้เห็นว่า แม้ร้อยเอ็ดจะเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของ
ประเทศไทย มีพื้นที่ 8,299.46 ตารางกิโลเมตร แต่จังหวัดร้อยเอ็ดก็ตั้งอยู่ในเขตอากาศร้อนและแห้งแล้ง
41
มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทุ่งกว้างมีดินปนทรายและมีดินเค็มเป็นส่วนมากซึ่งยากต่อการเพาะปลูก และด้วยเหตุ
ที่ร้อยเอ็ดตั้งอยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุมจึงทำให้บางครั้งพื้นที่บางแห่งต้องประสบกับสภาวะน้ำท่วมและสภาวะ
42
ฝนแล้ง อันเป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม การมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเค็มก็ทำให้ร้อยเอ็ด
เป็นจังหวัดแหล่งเกลือสินเธาว์อีกแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่ ลักษณะทางกายภาพซึ่งเป็นดิน
เค็มเช่นนี้ก็ทำให้ข้าวหอมมะลิของจังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณราบต่ำรูปกระทะที่เรียกว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” ได้รับ
การขึ้นทะเบียนรับรองจากกรมการข้าวว่าเป็นผลิตผลที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication :
GI) เนื่องจากดินเค็มบริเวณนั้นส่งผลให้ข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้มีรสชาติเฉพาะถิ่นที่ไม่เหมือนใคร
ร้อยเอ็ดจึงเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม
41 จังหวัดร้อยเอ็ด. “แนะนำจังหวัด”. http://www.roiet.go.th/2013/ [Online] [Access 15/7/2019]
42 ทรัพยากรธรณี, กรม. “การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดร้อยเอ็ด”. เอกสารออนไลน์.
http://www.dmr.go.th/download/digest/Royead.pdf [Online] [Access 15/7/2019] หน้า1-5.
115