Page 128 - kpi21595
P. 128

นักเรียนพลเมือง ผลจากการสัมภาษณ์แสดงให้เห็นว่าในการทำกิจกรรมของแกนนำพลเมืองหลายครั้งจะมีแกน

               นำบางคนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เช่นเดียวกันกับนักเรียนพลเมืองส่วนใหญ่ด้วยเหตุผล “ติดภารกิจ”
               ดูไร่นาและทำการเกษตร เมื่อรวมตัวกันได้น้อยครั้งจึงส่งผลต่อศักยภาพและความกลมเกลียวของกลุ่มให้ลดลง

               ตามไปด้วย อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อจำนวนโครงการและกิจกรรมที่ถูกผลักดันโดยกลุ่มแกนนำเพื่อส่งเสริม

               และสร้างความเป็นพลเมืองแก่คนในพื้นที่
                       ขณะที่ในส่วนของ คนในชุมชนนั้นปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ในเรื่องของการประกอบอาชีพและการหาเลี้ยง

               ชีพนั้นคือเหตุผลหลักที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ผลจากการศึกษา
               พบว่ากลุ่มตัวอย่างจากทุกอำเภอเป้าหมายส่วนใหญ่ระบุว่าการที่พวกเขาจะเข้าร่วมกิจกรรมใดหรือไม่เข้าร่วม

               กิจกรรมใดนั้น ประการแรก พวกเขามีเวลาหรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่อย่างยิ่งกับลักษณะของการประกอบอาชีพ กรณีที่

               ผู้นั้นประกอบอาชีพนอกชุมชน เมื่อมีกิจกรรมที่จัดขึ้นในชุมชนพวกเขาย่อมไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ เช่น
               คุณไก่ (นามสมมุติ) ตัวแทนจากตำบลสะอาดสมบูรณ์กล่าวว่า เธอไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนมากนัก

               เพราะเธอทำงานในเมือง “เขาชวนไปฟัง ตอนเปิด เราก็ไป แล้วก็ลงทะเบียนกับเขาแต่ว่า เราไม่ได้ไปเรียนทุก
               ครั้งเพราะต้องทำงานในเมือง” เช่นเดียวกันกับคุณไข่ (นามสมมุติ) หนึ่งในตัวแทนจากอำเภอพนมไพรกล่าวว่า

               “เคยได้ยินโครงการโรงเรียนพลเมือง แต่ไม่รู้ว่าทำอะไร ผอ.เล่าให้ฟัง เคยได้ยินแต่ไม่สะดวกไปเรียน เพราะ

               ต้องทำงาน” ด้านตัวแทนจากอำเภอปทุมรัตต์ก็ระบุในทำนองเดียวกันว่าการที่เขาต้องทำงานต่างอำเภอนั้นทำ
               ให้ไม่ค่อยได้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนนัก “ผมไปเย็บผ้า ที่จังหาร ไป-กลับ ไม่ค่อยอยู่บ้าน”

                       จากข้างต้นแสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านการประกอบอาชีพในหรือนอกอำเภอมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการ

               มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน ดังประเด็นที่ตัวแทนจากอำเภอปทุมรัตต์ชี้ให้เห็นว่าหากกิจกรรม
               ดังกล่าวจัดตรงกับวันหยุดเขาก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยเขากล่าวถึงโครงการถนนสายวัฒนธรรมว่า “เข้า

               ร่วมบ้าง อยู่ 2 ครั้ง  ถ้าตรงกับวันหยุด เขาก็จะบอกให้นุ่งสโล่ง เป็นชุดสมัยก่อน แล้วก็เสื้อสีขาว ก็จัดที่ถนน
               หมู่บ้าน ที่วัดโพธิ (การาม) คนมาร่วมเยอะ มีโดรนมาถ่ายรูป รู้สึกชอบกิจกรรมลักษณะนี้ เพราะว่าชอบ

               ทำบุญ”  จากบทสัมภาษณ์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่าช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมที่ไม่ตรงกับวันทำงานนั้นมีผลต่อ

               การเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชนได้ประการหนึ่ง
                       อย่างไรก็ตาม บทสัมภาษณ์ของแม่แย้ม (นามสมมติ) ก็แสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านการทำงานนอก

               อำเภออาจไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้คนในชุมชน “ไม่ว่าง” เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมือง ดังที่
               เธอให้สัมภาษณ์ว่า “ได้ยินในที่ประชุม อบต. แต่จำไม่ได้ว่าพลเมืองคืออะไร  มีคนมาพูดเยอะ ฉันไม่ได้เรียน

               หรอก เพราะว่าอยู่กับลูกชายแค่สองคน ต้องทำมาหากิน ไปเรียนก็จะไม่ต่อเนื่อง  ต้องทำงาน ทำนา ขายของ

               เก่า” กรณีของแม่ย้อย (นามสมมุติ) ตัวแทนจากอำเภอปทุมรัตต์ก็ระบุในทำนองเดียวกันว่าที่ตนไม่ได้เข้าร่วม
               กิจกรรมเพราะต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ “ยายก็ไม่ค่อยได้ไปไหนไม่มีรถ ถ้าเขาไม่พาไปก็ไม่ได้ไป ...  ถ้าถามสมัย

               สาวๆ ยายก็ไม่ได้เข้ากลุ่มอะไร เพราะว่ายายอยู่คนเดียว ก็ต้องเลี้ยงวัว ไม่มีเวลา” จากบทสัมภาษณ์ข้างต้น

               แสดงให้เห็นว่าปัจจัยหลักๆของการเข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่เข้าร่วมกิจกรรมนั้นไม่ใช่การทำงานนอกพื้นที่แต่
               เป็นการทำมาหาเลี้ยงชีพซึ่งมีหลากหลายรูปแบบที่ทำให้พวกเขาไม่อาจสละเวลาเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริม

               ความเป็นพลเมือง ดังนั้น การจัดงานวันหยุดหรือไม่อาจไม่ใช่สาระสำคัญที่ทำให้คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม


                                                                                                       117
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133