Page 127 - kpi21595
P. 127

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดร้อยเอ็ดจะมีลักษณะแห้งแล้งและมีดินเค็มทำให้ยากต่อ

                                                                            43
               การเพาะปลูก แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก  ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชน
               จังหวัดร้อยเอ็ดระบุว่าในปี 2560 ประชากรในจังหวัดร้อยเอ็ดประกอบอาชีพเกษตรกรทำนา ร้อยละ 46.84

               รองลงมาคือ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 19.20 กำลังศึกษา ร้อยละ 18.25 รับราชการและเป็นพนักงานทั่วไป

               ร้อยละ 3.68 ประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 3.65 ส่วนผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพมีอยู่ร้อยละ 3.66 การพึ่งพา
               ธรรมชาติในการทำเกษตรกรรมเช่นนี้ส่งผลต่อรายได้ที่ไม่แน่นอนของประชากรในจังหวัดร้อยเอ็ด ชาวร้อยเอ็ด

               ต้องเผชิญกับปัญหาความยากจนและปัญหาหนี้สินอย่างมาก ข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
               เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่า ประชากรในจังหวัดร้อยเอ็ดนั้นมีรายได้น้อยกว่าจังหวัดอื่นในประเทศไทย

               โดยเปรียบเทียบ โดยในปี 2559-2560 จังหวัดร้อยเอ็ดมีมูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัว (GPP) อยู่ราว 55,000

                                                   44
               บาท จัดอยู่ในอันดับที่ 71 ของประเทศไทย
                       สำหรับสาเหตุความยากจนนั้นไม่ได้เกิดจากปัญหาด้านภัยธรรมชาติเพียงอย่างเดียว รายงานของ

               สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ระบุให้เห็นถึงเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความ
               ยากจนของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ดว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกษตรกรเหล่านี้

               ต้องประสบกับต้นทุนทางการเกษตรที่สูงอย่างมากในปัจจุบัน เช่น ค่าปุ๋ย ค่ายาปราบศัตรูพืช ค่าโรงสี ค่าขนส่ง

               เป็นต้น ซึ่งเพิ่มต้นทุนในการผลิต แต่ในทางกลับกันพวกเขากลับเข้าไม่ถึงอำนาจในการต่อรองราคากับ
               ผู้ประกอบการ ทำให้สินค้าเกษตรมีราคาต่ำ นอกจากนั้น พวกเขายังไม่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง ขณะที่

               บางครั้งที่พวกเขาต้องประสบกับภัยธรรมชาติก็ส่งผลกระทบต่อผลผลิตให้ลดลงและขายไม่ได้ราคา ปัจจัย

               เหล่านี้ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรในจังหวัดร้อยเอ็ดให้ต้องประสบกับปัญหาความยากจนอย่าง
               ต่อเนื่อง และผลักดันให้พวกเขาต้องออกไปหารายได้นอกภาคเกษตรกรรมมากขึ้น โดยขายแรงงานให้แก่

               โรงงานอุตสาหกรรมนอกพื้นที่รวมไปถึงในต่างประเทศ ขณะที่ค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามกลไกตลาดแต่แหล่ง
               รายได้ของเกษตรกรกลับไม่แน่นอนนั้นได้นำไปสู่ปัญหาหนี้สินของชาวนาในเวลาต่อมา ข้อมูลจากเว็บไซต์อย่าง

               เป็นทางการของจังหวัดร้อยเอ็ดระบุว่า มีเกษตรกรประสงค์เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้

               เกษตรกรรายย่อยผ่านระบบของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรของรัฐบาลในปี 2545 ทั้งสิ้น
               84,939 ราย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4 ของจำนวนเกษตรกรทั้งหมดที่ขอชำระหนี้สินในปีเดียวกัน (จำนวน

               2,270,054  ราย) ข้อมูลดังกล่าวนับเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นว่าประชากรในจังหวัดร้อยเอ็ดนั้น
               ไม่ได้เพียงแต่เผชิญกับสภาวะความยากจน ปัญหาเชิงกายภาพในการทำเกษตร และปัญหาเชิงโครงสร้างด้าน

               เศรษฐกิจเท่านั้น แต่พวกเขายังต้องเผชิญกับปัญหาหนี้สินอีกด้วย

                       จากผลการศึกษาข้างต้นจะเห็นได้ว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจนั้นส่งอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความสนใจ
               ใส่ใจความเป็นไปของชุมชนและสังคมของกลุ่มแกนนำพลเมืองและกลุ่มตัวอย่างในระดับพื้นที่อย่างสำคัญ โดย

               ในส่วนของแกนนำพลเมืองนั้นปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจส่งผลต่อการรวมกลุ่มกันของแกนนำพลเมืองและ



               43  เพิ่งอ้าง, หน้า 6.
               44  สำนักงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด 2560. http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER38/DRAWER023
               /GENERAL/DATA0000/00000069.PDF [Online] [Access 15/7/2019]

                                                                                                       116
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132