Page 125 - kpi21595
P. 125

“ผูกขาดการตัดสินใจ” อย่างมาก ดังจะเห็นได้ว่า 4 จาก 5 โครงการที่แกนนำพลเมืองดำเนินการนั้นเป็นการ

               เลือกสรรโดยแกนนำพลเมืองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการธรรมนูญอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
               ที่เกิดจากการริเริ่มของแกนนำพลเมืองและนักเรียนพลเมืองอำเภอพนมไพร โครงการขยะแลกใจและโครงการ

               อบรมเยาวชนจิตอาสาเสลภูมิก็เกิดจากการริเริ่มของหัวหน้าห้องโรงเรียนพลเมืองตำบลขวาวอำเภอเสลภูมิ

               โครงการปลูกพืชปลอดสารพิษในกระถางก็เกิดจากการริเริ่มของนักเรียนพลเมืองตำบลสะอาดสมบูรณ์อำเภอ
               เมืองร้อยเอ็ด ขณะที่ โครงการถนนสายวัฒนธรรมก็เป็นการริเริ่มโดยแกนนำพลเมืองอำเภอปทุมรัตต์ร่วมกับ

               เครือข่ายในพื้นที่ มีเพียงโครงการโรงเรียนพลเมืองเท่านั้นที่จะใช้วิธีการเปิดเวทีเพื่อแนะนำโครงการและ
               สอบถามความเห็นจากคนในชุมชนก่อนว่ามีความสนใจอยากจะดำเนินโครงการนี้ในพื้นที่หรือไม่ ขณะที่

               โครงการอื่นๆแกนนำพลเมืองจะเป็นผู้ระบุว่าอยากดำเนินโครงการ/กิจกรรมใด ไม่ได้เริ่มต้นจากการสอบถาม

               คนในชุมชนว่าต้องการอะไรและเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ร่วมกันคิดว่าอยากได้กิจกรรมแบบใด
                       จึงกล่าวได้ว่ากิจกรรมต่างๆที่แกนนำพลเมืองดำเนินการนั้น พบว่ายังไม่มีลักษณะของส่งเสริม “การมี

               ส่วนร่วม” คิด ร่วมทำ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนในชุมชนมากนัก รูปแบบโครงการรวมไปถึงลักษณะ
               กิจกรรมที่ดำเนินการล้วนเป็นการวางแผนโดยแกนนำพลเมืองเป็นหลัก เช่น กรณีโครงการธรรมนูญ

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการสัมภาษณ์ผู้วิจัยพบว่าตัว “ร่างธรรมนูญ” นั้นมีผู้ยกร่างเพียงผู้

               เดียวเท่านั้นคือข้าราชการครูของโรงเรียนบ้านดอนเสาโฮงที่เป็นบุคคลสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการลงนามใน
               ธรรมนูญทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ดังนั้น ร่างธรรมนูญทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               ดังกล่าวจึงไม่แม้แต่สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างแกนนำพลเมืองและนักเรียนพลเมืองด้วยกัน ส่วนหนึ่งอาจเป็น

               ปัญหาเรื่องการประสานงานภายในดังที่แกนนำพลเมืองพนมไพรผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่านี่เป็นจุดอ่อนของแกนนำ
               พลเมืองในอำเภอนี้

                       อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยพบว่าลักษณะของการทำงานโดยแกนนำพลเมืองเพียงไม่กี่คนเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป
               ในการดำเนินกิจกรรมของแกนนำพลเมืองทุกอำเภอในฐานะ “ตัวตั้งตัวตี” เช่น กรณีของอำเภอเมืองร้อยเอ็ด

               แกนนำพลเมืองและนักเรียนพลเมืองตำบลสะอาดสมบูรณ์เพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่มีความกระตือรือร้นเรียนรู้

               วิธีการสานกระถางจากเศษวัสดุและไม้ไผ่จากยูทูป เพื่อนำมาสอนเพื่อนนักเรียนและคนในชุมชน หรือกรณีที่
               แกนนำพลเมืองอำเภอเสลภูมิ ที่มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ได้แสดงบทบาทเป็นวิทยากรในการอบรมเยาวชนและ

               เผยแพร่ความรู้เรื่องการจัดการขยะ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้คนในชุมชนจึงไม่ได้มีส่วน “ร่วมคิด” โครงการและ
               กิจกรรมที่จะดำเนินการตั้งแต่ช่วงแรก ขณะที่ในช่วงเตรียมการนั้นคนในชุมชนก็ไม่ได้รับการร้องขอให้เข้าร่วม

               ในการตระเตรียมกิจกรรมต่างๆ เช่น กรณีของการถ่ายทอดการคัดแยกและจัดการขยะของแกนนำพลเมือง

               อำเภอเสลภูมิและนักเรียนพลเมืองตำบลขวาวนั้น ช่วงก่อนการสาธิตวิธีการจัดการขยะนั้นแท้จริงนักเรียน
               พลเมืองสามารถร้องขอให้ชาวบ้านนำขยะและสิ่งที่คิดว่าเหลือใช้จากที่บ้านมาเพื่อให้พวกเขาทำการสาธิตให้ก็

               ได้ แต่ในทางปฏิบัตินักเรียนพลเมืองและแกนนำพลเมืองเป็นผู้เตรียมการทั้งหมดไว้แล้ว เป็นต้น ดังนั้น การเข้า

               ร่วมกิจกรรมของคนชุมชนจึงมีลักษณะของการรับเชิญมาร่วมงานในฐานะ “แขก” เพื่อมาดูหรือมาร่วม
               กิจกรรมที่แกนนำพลเมืองจัดเตรียมขึ้นไว้ทั้งหมดเท่านั้น





                                                                                                       114
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130