Page 145 - kpi21595
P. 145

นอกจากนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีก็ยังช่วยส่งเสริมต่อการแสดงออกทางการเมืองในโลกเสมือนจริงมากขึ้นอีก

               ด้วย ผลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าแม้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมอาจไม่ได้แสดงความคิดเห็นมากนักแต่นั่นไม่ได้
               หมายความว่าเขาไม่มีช่องทางการแสดงออกในช่องทางอื่นๆ มีหลายกรณีที่ชาวบ้านพูดคุยกันไลน์กระทั่งได้

               ข้อสรุปโดยไม่ต้องถกเถียงกันในที่ประชุมอีก “บางคนก็พูดเก่ง แต่บางคนก็พูดไม่เก่งแต่เขียนบรรยายเก่ง”

               ทั้งนี้เพราะฟังก์ชั่นการค้นหา (search engine) นั้นเป็นตัวช่วยสำคัญในการไขข้อสงสัยต่างๆตลอดจนช่วยใน
               การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ต่อการเปิดมุมมองใหม่ๆและอาจนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตต่อ

               โครงการต่างๆในชุมชนมากขึ้น ดังเช่นที่ตัวแทนจากตำบลโนนทัน อำเภอปทุมรัตต์ กล่าวว่า “ถ้าทำงานก็ไม่
               น่าจะร่วมได้ อย่างแม่ก็ไม่ค่อยได้เป็นจิตอาสาเท่าไหร่ เพราะเป็นไม่ได้ เราช่วยแรงไม่ได้เราก็ช่วยเงิน แต่ถ้าอยู่

               บ้าน ถ้าเขาไปเราก็ไป สมัยก่อนแม่ไม่ค่อยสนใจเรื่องสังคม แต่ทุกวันนี้มีสื่อ เยอะ คนก็พูดกัน คนก็มีความรู้

               เยอะกว่าเมื่อก่อน คนเขาพูดเหมือนสมัยใหม่  แต่ก่อนตีเกราะ เดี๋ยวนี้ก็ใช้เสียงตามสายใช้ไลน์”
                       นอกเหนือจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว กระแสการส่งเสริมการ

               มีส่วนร่วมทางการเมืองก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญที่ทำให้ปัจจุบันนี้ การประชุมประชาคมกลายเป็นขั้นตอนพื้นฐาน
               ในการผ่านร่างโครงการและรับรองงบประมาณต่างๆในระดับพื้นที่ สภาพแวดล้อมเช่นนี้กำลัง สร้างการ

               เปลี่ยนแปลงสำนึกพลเมืองให้แก่คนในชุมชนทีละน้อย อาทิ ตัวแทนจากตำบลขี้เหล็กอำเภอปทุมรัตต์ กล่าวว่า

               “เราอยากได้อะไร เราก็ต้องไปประชุม  เราจะเอาน้ำ เอาอะไร หรือคอนกรีต ถ้าไม่เข้าประชุมก็ไม่ได้ แต่ครั้งนี้
               เราได้คอนกรีต เพราะเขาบอกว่ามันเข้าแผน ....” สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่าสำนึกพลเมืองของคนใน

               ชุมชนกำลังเปลี่ยนไปพวกเขาเล็งเห็นสิทธิของตนเองมากขึ้นและแสดงออกผ่านการเข้าร่วมประชุมประชาคม

               หมู่บ้านมากขึ้น การประชุมประชุมคมหมู่บ้านกำลังกลายเป็นช่องทางพื้นฐานในการแสดงออกทางการเมือง
               ของคนในชุมชน ดังที่ ตัวแทนจากตำบลขี้เหล็กอำเภอปทุมรัตต์กล่าวว่า “คนแสดงความเห็นเยอะ แต่ว่าแต่

               ก่อนคนแสดงความเห็นไม่เยอะเท่านี้  เดี๋ยวนี้เยอะ ผมว่าอาจเป็นเพราะไทบ้านเดือดร้อนเยอะ” ในแง่นี้จึง
               กล่าวได้ว่า แม้ปัจจัยทางด้านสังคมนั้นจะมีมิติที่เป็นการขัดขวางการสร้างสำนึกพลเมืองไม่ต่างจากปัจจัยอื่น

               แต่ก็นับว่าเป็นปัจจัยที่มีมิติส่งเสริมสำนึกพลเมืองได้มากกว่าปัจจัยอื่นๆ หากนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมอาจ

               นำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่เอื้อต่อการก่อเกิดสำนึกพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นได้


















                                                                                                       134
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150