Page 158 - kpi21595
P. 158

ประการที่สาม แกนนำพลเมืองยังไม่สามารถแสวงหา “โอกาส” ในการเผยแพร่ความเป็นพลเมือง

               จากบทบาทหน้าที่ของตนเอง
                       ผู้วิจัยพบว่าอีกปัญหาสำคัญที่บั่นทอนศักยภาพในการผลักดันโครงการ/กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็น

               พลเมืองสู่คนในชุมชนของแกนนำพลเมืองก็คือ การที่แกนนำพลเมือง ยังไม่สามารถแสวงหาช่องทางหรือ

               “โอกาส” ในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนได้จากบทบาทหน้าที่ของตนเอง ส่งผลให้ เมื่อต้องชั่ง
               น้ำหนักกันแล้วบทบาทหน้าที่ประจำวันนั้นถูกให้ค่าน้ำหนักมากกว่า ส่วนการเผยแพร่ความเป็นพลเมืองนั้นจะ

               ถูกจัดลำดับความสำคัญถัดลงมา ทั้งๆที่ทั้งสองเรื่องนั้นไปด้วยกันและสอดคล้องกันอย่างมาก การสร้างความ
               เป็นพลเมืองนั้นเป็นเรื่องที่ดำเนินการได้ในวิถีชีวิต และแท้จริงแล้วควรเป็นเช่นนั้นเพราะจะยิ่งส่งเสริมให้ความ

               เป็นพลเมืองเป็นสิ่งที่มีความเป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพมากที่สุด การที่แกนนำพลเมืองยังไม่สามารถหา

               ช่องทางหรือวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างเชื่อมโยงกับการส่งเสริมและเผยแพร่ความเป็นพลเมืองใน
               ชีวิตประจำวันได้นั้น จึงส่งผลให้การสร้างความเป็นพลเมืองถูกดำเนินการในรูปแบบของ “กิจกรรม” ตามวาระ

               อันส่งผลต่อจำนวนของกิจกรรมให้มีไม่มากนักรวมไปถึงความต่อเนื่องของกิจกรรม
                       สำหรับผู้วิจัยแล้วองค์ความรู้ของแกนนำพลเมืองไม่ใช่ปัญหา เพราะพวกเขาเข้าใจเป็นอย่างดีว่า

               พลเมืองคือใคร สำคัญอย่างไร แม้ว่าพวกเขาจะให้คำอธิบายเชิงวิชาการไม่ได้ครอบคลุมทุกมิติของความเป็น

               พลเมือง กระนั้น ความรู้ความเข้าใจของพวกเขาก็เพียงพอที่จะหยิบยกบางมิติของพลเมืองมาอธิบายขยาย
               ความแก่คนในชุมชนต่อไปได้ และปัญหาก็ไม่ได้อยู่ที่แกนนำพลเมืองมีภารกิจมากเพียงใด แต่อยู่ที่ผู้นั้นจะ

               สามารถบูรณาการองค์ความรู้และกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองเข้ากับภารกิจของตนได้เพียงใดมากกว่า

               เพราะหากพวกเขาสามารถบูรณาการโครงการ/กิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองเข้ากับภารกิจ
               ของพวกเขาได้แล้ว เรื่องของการผลักดันกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองจะไม่ถูกมองว่าเป็น “ภาระ”

               หรือเป็นงานที่นอกเหนือออกมาจากงานประจำอีกต่อไป ดังนั้น ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ภารกิจแต่อยู่ที่แกนนำ
               พลเมืองยังไม่มี ความคิดสร้างสรรค์ มากพอในการตีโจทย์เรื่องการสร้างความเป็นพลเมืองและตีโจทย์ภารกิจ

               ของตน เพราะสิ่งสำคัญในการสร้างความเป็นพลเมืองไม่ใช่การผลักดันโครงการขนาดใหญ่แต่อยู่ที่การริเริ่มชี้

               ชวนคนในชุมชนมี “ปฏิบัติการ” บางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทีละเล็กทีละน้อย คล้ายการวิจัยอย่างมี
               ส่วนร่วม (PAR: Participatory Action Research) ซึ่งกระบวนการเช่นนี้จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนใน

               ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
                       ประการที่สี่ แกนนำพลเมืองยังไม่สามารถบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือได้มากนัก

                       ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโครงการเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองที่แกนนำพลเมือง ดำเนินการส่วนใหญ่

               เป็นไปในรูปแบบที่แกนนำพลเมืองดำเนินการในนามของโรงเรียนพลเมืองหรือแกนนำพลเมืองประจำอำเภอ
               หนึ่งๆเพียงลำพัง จะมีเพียงแกนนำพลเมืองอำเภอปทุมรัตต์เท่านั้นที่มีการบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือใน

               ระดับชุมชนและอำเภอเมื่อดำเนินกิจกรรม ซึ่งการขาดการบูรณาการความร่วมมือนั้นจะส่งผลต่อความสามารถ

               ในการสร้างสรรค์กิจกรรมที่หลากหลาย เป็นรูปธรรม และต่อเนื่อง นำไปสู่จำนวนโครงการเพื่อส่งเสริมความ
               เป็นพลเมืองที่จำกัด จำนวนผู้ที่เข้าร่วมโครงการที่จำกัด และจำนวนเครือข่ายส่งเสริมความเป็นพลเมืองที่จำกัด

               แกนนำพลเมืองควรให้ความสำคัญกับการบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายอื่นๆให้มากขึ้น เนื่องจาก



                                                                                                      147
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163