Page 159 - kpi21595
P. 159
องค์ประกอบเหล่านี้มีความสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองอย่างมาก ดังจะเห็นได้จาก
กรณีของแกนนำพลเมืองอำเภอปทุมรัตต์ที่แม้ว่าจะเหลือเพียงผู้เดียวที่ผลักดันกิจกรรมในระดับพื้นที่ แต่แกน
นำพลเมืองผู้นี้ก็ยังสามารถผลักดันกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระดับอำเภออย่างต่อเนื่องได้ถึง 4
ครั้ง ผลจากการสัมภาษณ์ทำให้ทราบว่าแกนนำพลเมืองผู้นี้เลือกใช้วิธีการประสานกับเครือข่ายในพื้นที่หลาย
ฝ่ายเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม อาทิ ชมรมผู้สูงอายุ สภาวัฒนธรรมตำบลที่แกนนำพลเมืองผู้นี้ทำงานอยู่ด้วย และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีนี้สะท้อนให้เห็นว่าการแสวงหาเครือข่ายนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ใน
การผลักดันโครงการ/กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองต่างๆ กระนั้น สิ่งที่ผู้วิจัยพบก็คือแกนนำพลเมือง
ยังให้ความสำคัญกับการแสวงหาเครือข่ายน้อยและการบูรณาการโครงการของตนเข้ากับโครงการของ
เครือข่ายน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขายังไม่ได้แสวงหา “จุดร่วม” ของตนและเครือข่ายอื่นๆได้ ซึ่งนั่นเอง
เป็นผลมาจากการไม่สามารถสร้างสรรค์และตีโจทย์ภารกิจของตนและผู้อื่นดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
เมื่อกล่าวถึงการบูรณาการความร่วมมือแล้ว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ของแกนนำพลเมืองจึงเป็นเรื่อง
สำคัญ เพราะความคิดสร้างสรรค์จำแนกแยกย่อยโครงการออกเป็นกิจกรรมที่หลากหลายนั้นจะเพิ่ม “โอกาส”
ในการเผยแพร่ความรู้และผลักดันกิจกรรมต่างๆได้มากขึ้น ทั้งยังนำมาสู่ความสามารถในการสร้างและประสาน
เครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่ได้มากขึ้นอีกด้วย ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์ จึงส่งผลโดยตรงกับการ สร้างโอกาส
ในการเผยแพร่โครงการและกิจกรรมของแกนนำพลเมือง
2.2 ปัจจัยด้านสังคม
สำหรับปัจจัยทางด้านสังคมนั้นผู้วิจัยมองว่าปัจจัยด้านนี้มีลักษณะที่ส่งเสริมมากกว่าขัดขวางการสร้าง
สำนึกพลเมืองสู่คนในชุมชน แม้ผลการศึกษาจะชี้ให้เห็นว่าสังคมชนบทในจังหวัดร้อยเอ็ดผู้คนส่วนใหญ่ยังคงมี
ค่านิยมบางอย่างที่สะท้อนถึงการยอมรับในลำดับขั้นสูงต่ำที่ส่งผลต่อการรับรู้ถึงความไม่เท่าเทียมกันในเรื่อง
ความสามารถในการคิด ศักยภาพ และบทบาทหน้าที่ อาทิ ความเชื่อว่าการเมืองเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ไม่ใช่เรื่อง
ของเด็ก ความเชื่อว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของชุมชนเป็น “หน้าที่” ของผู้นำและอาสาสมัคร
ประจำหมู่บ้าน ซึ่งความเชื่อเช่นนี้เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมความตระหนักรู้และความกระตือรือร้นของ
พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยสู่คนในชุมชนอย่างสำคัญ กระนั้น ผลจากการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า
โครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นลำดับขั้น (hierarchy) เช่นนี้กำลังถูกบ่อนทำลายลงไปจาก
โครงสร้างทางสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างน้อยใน 2 มิติที่มีแนวโน้มส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองสู่
คนในชุมชนได้
มิติแรก การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการสื่อสารและโซเชียลมีเดีย (Social Network Sites)
ผลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่า ในปัจจุบันคนในชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆผ่านช่องทาง
อินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น โดยสื่ออินเตอร์เน็ตกำลังทำให้คนในชุมชนมีช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆทั้งความรู้
และประสบการณ์ที่หลากหลาย ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถยกระดับความรู้และประสบการณ์ของคนใน
ชุมชนให้กว้างขวางออกไปได้ อันส่งผลต่อสำนึกพลเมืองอย่างสำคัญ ผลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบัน
แอพพลิเคชั่น “ไลน์” ได้กลายเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารที่สำคัญของคนในชุมชน ทั้งยังเป็นช่องทางการสื่อสาร
148