Page 33 - kpi21595
P. 33

ขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองสู่คนทั้งสองกลุ่มต่อไป โดยในที่นี้กลุ่มไข่ขาวคือกลุ่มหวังผลที่คาดว่าจะ

               ได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองจากแกนนำพลเมืองในอำเภอนำร่อง ส่วนชั้นที่สาม
               นั้นคือเปลือกไข่ซึ่งเปรียบเสมือนประชากรที่อยู่ต่างอำเภอซึ่งคาดหวังว่าจะได้รับผลสะเทือนจากปฏิบัติการ

               สร้างสำนึกพลเมืองของกลุ่มไข่แดงเช่นกันแต่อาจจะน้อยกว่ากลุ่มไข่ขาว สำหรับแผนภาพ “โมเดลไข่” ที่สำนัก

               ส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า พัฒนาขึ้นสำหรับดำเนินโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง
               พลเมืองนั้น มีดังนี้


                                                        แผนภาพที่ 3 โมเดลไข่




          กลุ่มเปลือกไข่: ประชาชนทั่วไปนอกอำเภอ

          เป้าหมายและคาดว่าจะได้รับผลสะเท้อนจาก
                                                                                        กลุ่มไข่แดง: ผู้นำโดยตำแหน่ง
          การทำโครงการ/กิจกรรมของแกนนำที่เข้ารับ

          การอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า                                              หรือผู้นำโดยธรรมชาติก็ได้แต่
          แต่ไม่ใช  ่กลุ่มหวังผล                                                        สิ่งที่สำคัญคือเป็นผู้ที่มีความ
                                                                                        ตระหนักถึงความเป็นไปของ
                                                                                        ชุมชนมีความกระตือรือร้นที่จะ

           กลุ่มไข่ขาว: ประชากรในอำเภอเป้าหมายซึ่ง                                      เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆมี

           เป็นกลุ่มหวังผลที่คาดว่าจะได้รับผลสะเทือน                                    ศักยภาพและพร้อมที่จะนำ

           จากปฏิบัติการสร้างความเป็นพลเมืองของ                                         ความรู้ที่ได้จากการอบรมไป

           แกนนำพลเมืองที่เข้ารับการอบรมโดยตรงจาก                                       ถ่ายทอดต่อ
           สถาบันพระปกเกล้า



           อ้างอิง: ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์. “แผนยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมือง”. สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง, สถาบันพระปกเกล้า, 2559.

                       ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าจังหวัดร้อยเอ็ดมีถึง 20 อำเภอซึ่งยากที่จะดำเนินโครงการให้มี

               ประสิทธิภาพได้ในคราวเดียว ด้วยเหตุนี้ สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง จึงมุ่งดำเนินการกับอำเภอ

               เป้าหมายอย่างน้อยร้อยละ 50 ของอำเภอทั้งหมด จำนวน 10 อำเภอก่อน โดยเริ่มจากการสร้างแกนนำ
               พลเมืองระดับอำเภอให้มีความเข้มแข็ง จากนั้นจึงสนับสนุนให้แกนนำพลเมืองเหล่านั้นขยายผลการสร้างความ

               เป็นพลเมืองต่อไปทั้งในอำเภอของตนและอำเภอข้างเคียง สำหรับการคัดเลือกอำเภอนำร่อง 10 แห่งเพื่อ

               ดำเนินโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองนั้น สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองได้ร่วมกับศูนย์พัฒนา
               การเมืองภาคพลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาสังคมของสถาบันพระปกเกล้าในระดับพื้นที่

               ระบุอำเภอนำร่องอย่างมีส่วนร่วม ได้มาทั้งสิ้น 10 อำเภอดังนี้ อำเภอนำร่องประจำปี 2559 ประกอบด้วย

               อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอโพนทอง อำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอปทุมรัตต์ ส่วนอำเภอนำร่อง
               ประจำปี 2560 ประกอบด้วย อำเภอเสลภูมิ อำเภอจังหาร อำเภอหนองพอก อำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอ

               พนมไพร


                                                                                                       23
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38