Page 66 - kpi21595
P. 66

พลเมืองด้านอื่นต่อไป ตามสูตรด้านบน ซึ่งเมื่อแทนค่าแล้วคะแนนความเป็นพลเมืองด้านที่ 7 จะมีคะแนนที่พึง

               ได้เท่ากับ 18 คะแนน (3 คะแนน X 6 ข้อ = 18 คะแนน) สามารถทำให้คะแนนความเป็นพลเมืองเต็ม 10 ได้
               โดยนำคะแนนความเป็นพลเมืองด้านที่ 7 ที่ได้จริงหารด้วย 1.8 ส่วนคะแนนความเป็นพลเมืองด้านที่ 8 นั้น

               จะมีคะแนนที่พึงได้เท่ากับ 39 คะแนน (3 คะแนน X 13 ข้อ = 39 คะแนน) ส่วนคะแนนความเป็นพลเมืองเต็ม

               10 หาได้โดยนำคะแนนความเป็นพลเมืองด้านที่ 8 ที่ได้จริงหารด้วย 3.9 ตามสูตร
                       เมื่อแปลงคะแนนความเป็นพลเมือง 8 ด้านเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปจะต้องมีการเตรียมข้อมูลสำหรับ

               การวิเคราะห์สถิติ โดยเริ่มต้นจากการหาคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และคะแนนความเป็นพลเมือง
               กระตือรือร้นในภาพรวม ซึ่งได้จากการนำคะแนนเต็ม 10 ของความเป็นพลเมืองด้านที่ 1 ถึงด้านที่ 4 มา

               รวมกันแล้วหารด้วย 4 เพื่อให้ได้คะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้เท่ากับ 10 คะแนน ในส่วนของคะแนน

               ความเป็นพลเมืองกระตือรือร้นนั้นหาได้โดยการนำคะแนนความเป็นพลเมืองเต็ม 10 ของความเป็นพลเมือง
               ด้านที่ 5 ถึงด้านที่ 8 มารวมกันแล้วหารด้วย 4 เพื่อให้ได้คะแนนความเป็นพลเมืองกระตือรือร้นที่เท่ากับ 10

               คะแนนเช่นเดียวกัน และก่อนเริ่มต้นการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผู้วิจัยจะทำการถ่วงค่าน้ำหนักแบบสอบถาม
               ที่เก็บได้จากแต่ละอำเภอเสียก่อน เนื่องจากแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูล

               แล้วอาจจะมีจำนวนที่ไม่เท่ากันในแต่ละอำเภอ และลดน้อยลงไปกว่าแบบสอบถามที่ประมาณการว่าจะเก็บได้

               100 ชุดในแต่ละอำเภอ โดยผู้วิจัยจะถ่วงค่าน้ำหนักโดยใช้จำนวนแบบสอบถามของอำเภอที่เก็บได้มากที่สุด
               เป็นเกณฑ์เพื่อให้ค่าคะแนนในการวิเคราะห์มีน้ำหนักเท่ากันและสามารถเปรียบเทียบกันได้

                       ในส่วนของการวิเคราะห์ผลคะแนนที่ได้ด้วยสิถิตินั้น ผู้วิจัยจะตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงความเป็น

               พลเมืองที่เกิดขึ้น โดยเริ่มจากการดูความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย (mean) ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการของ
               กลุ่มตัวอย่างทั้งที่เป็นแกนนำพลเมืองและเข้ารับการอบรมกับสถาบันพระปกเกล้ากับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้เข้า

               รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าแต่คาดว่าจะได้รับผลจากปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองโดย
               แกนนำพลเมืองในระยะที่สอง จากนั้น จะทดสอบคะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปเปรียบเทียบ

               ระหว่างก่อนและหลังมีปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองอีกครั้งโดยทดสอบ T-Test เพื่อดูนัยสำคัญของคะแนน

               ความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเพื่อให้ทราบทิศทางและระดับ
               ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรแทรกซ้อนที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองทั้ง

               8 ด้านและความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และความเป็นพลเมืองกระตือรือร้นในภาพรวมผู้วิจัยจะใช้การวิเคราะห์

               ด้วยสถิติถดถอยเชิงเส้น (regression) เพื่อหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆอีกครั้ง
                       ในส่วนของการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยนั้น ผู้วิจัยจะหาค่าเฉลี่ยของคะแนนความเป็นพลเมืองแต่ละด้าน

               ทั้ง 8 ด้านก่อน จากนั้นจึงคำนวณหาคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นโดยเฉลี่ยด้วยสมการ

               ด้านล่าง ต่อไป



                                                =





                                                                                                        55
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71