Page 70 - kpi21595
P. 70
สำหรับวิธีอ่านผลการวิเคราะห์นั้น ในส่วนของการวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา (descriptive
statistics) ซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์ความถี่ (frequency) ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง การหาค่าเฉลี่ย
(mean) คะแนนความเป็นพลเมืองทั้ง 8 ด้านของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม และการหาค่าความเปลี่ยนแปลง
(Df) ของคะแนนความเป็นพลเมืองทั้ง 8 ด้าน เปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังมีปฏิบัติการเสริมสร้าง
พลังพลเมืองนั้น ผลการวิเคราะห์ในส่วนนี้อ่านจากค่าความเปลี่ยนแปลง (Df) ความเป็นพลเมืองเป็นหลัก
หากคะแนนที่เปลี่ยนแปลงไปมีค่าเป็นบวก นั่นหมายถึงคะแนนความเป็นพลเมืองภายหลังปฏิบัติการเสริมสร้าง
ความเป็นพลเมืองสูงกว่าคะแนนความเป็นพลเมืองก่อนมีปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง จึงกล่าวได้ว่า
โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองได้ แต่หากผลการ
วิเคราะห์พบว่าค่าความเปลี่ยนแปลง (Df) ความเป็นพลเมืองมีเครื่องหมายลบ (-) ด้านหน้า แสดงให้เห็นว่า
คะแนนความเป็นพลเมืองภายหลังปฏิบัติการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองของกลุ่มตัวอย่างลดลง หมายความ
ว่าโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองได้
สำหรับการวิเคราห์ด้วยสถิติ paired sample T-test นั้น การอภิปรายผลพิจารณาจากค่าเฉลี่ย
(mean) ที่ได้ หากค่าเฉลี่ยมีค่าเป็นบวกแสดงให้เห็นว่าคะแนนความเป็นพลเมืองหลังมีโครงการเสริมสร้างพลัง
พลเมืองนั้นสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่หากมีเครื่องหมายลบ (-) หน้าคะแนนเฉลี่ยนั้นหมายถึงโครงการ
เสริมสร้างพลังพลเมืองไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองได้ อย่างไรก็ตาม การอ่านค่าต้อง
พิจารณานัยสำคัญ (Sig.) ด้วยว่ามีค่าน้อยกว่า .05 หรือไม่ หากพบว่าค่า Sig. สูงกว่า .05 แสดงว่าค่าเฉลี่ยของ
คะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นไม่มีนัยสำคัญทางสถิติผู้วิจัยจะต้องยอมรับสมมติฐานหลัก (H 0)
ที่ว่าโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้
และกระตือรือร้นให้เกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรที่เข้าร่วมโครงการได้ แต่หากพบว่าคะแนนความเป็นพลเมืองที่
เปลี่ยนแปลงไปนั้นมีนัยสำคัญทางสถติ (Sig.<.05) ผู้วิจัยจะต้องปฏิเสธสมมติฐานหลัก (H 0) และ ยอมรับ (H 1)
ว่าโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และ
กระตือรือร้นให้เกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรที่เข้าร่วมโครงการได้
ส่วนผลวิเคราะห์ที่ได้จากการทดสอบสหสัมพันธ์ด้วยสถิติ regression นั้น สามารถอภิปรายผลได้
ทั้งทิศทางความสัมพันธ์และระดับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม โดยพิจารณาจากค่า
สหสัมพันธ์ (B) หากพบว่าค่า B เข้าใกล้ 1 มากเท่าใด แสดงให้เห็นว่าตัวแปรต้นดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับตัว
แปรตามหรือก็คือตัวแปรต้นที่กำหนดไว้สามารถอธิบายตัวแปรตามได้ โดยค่า Beta จะแสดงให้เห็นว่าตัวแปร
ต้นดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามในระดับใด อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเป็นไปในทิศทาง
เดียวกันหรือทิศทางตรงกันข้าม ต้องพิจารณาจากเครื่องหมายที่อยู่ด้านหน้าค่า B ด้วย หากไม่พบเครื่องหมาย
ใดอยู่ด้านหน้าค่า B แสดงให้เห็นว่าตัวแปรต้นและตัวแปรตามจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือหากตัว
แปรต้นเพิ่มขึ้นตัวแปรตามจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย หรือกรณีที่ตัวแปรต้นลดลงตัวแปรตามก็จะมีค่าที่ลดลงตามไป
ด้วย ในที่นี้กล่าวคือ หากค่า B เป็นบวกย่อมหมายถึงโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองส่งผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองให้เพิ่มสูงขึ้น ในทางกลับกันหากไม่มีโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง
พลเมืองคะแนนความเป็นพลเมืองก็จะลดลงไปในทิศทางเดียวกัน แต่หากพบว่ามีเครื่องหมายลบ (-)
59