Page 69 - kpi21595
P. 69
จากชุดตัวแปรข้างต้น เมื่อนำมาใช้เพื่อหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างอำเภอกับคะแนนความเป็นพลเมือง
ของกลุ่มตัวอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อดูว่าปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองโดยแกนนำพลเมืองของแต่ละ
อำเภอส่งผลต่อคะแนนความเป็นพลเมืองของประชากรตัวอย่างในระดับอำเภอที่แตกต่างกันออกไปหรือไม่
จำเป็นต้องเพิ่มตัวแปรเรื่องการรู้จักสถาบันพระปกเกล้า การเข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบันพระปกเกล้าเข้าไป
แทนที่ตัวแปรกลุ่ม พร้อมทั้ง เพิ่มตัวแปรด้านอำเภอเข้าไปในชุดตัวแปรด้วย โดยเมื่อแทนที่ตัวแปรในสมการจะ
ได้ดังนี้
2
2
Y = β 1Age+ β 2Age + β 3Edu + β 4Edu + β 5Edu 1+ β 6Edu 2+ β 7Edu 3+ β 8Edu 4+ β 9Edu 5+
β 10Sex+ β 11Occ 1+ β 12Occ 2+ β 13Occ 3+ β 14Occ 4+ β 15Occ 5+ β 16KnowKPI+ β 17Participation+
β 18(KnowKPI x Participation)+ β 19Area 1+ β 20Area 2+ β 21Area 3+ β 22Area 4+ β 23Area 5+ β 24Area 6+
β 25Area 7+ β 26Area 8+ β 27Area 9
จากสมการด้านบนจะเห็นได้ว่าชุดตัวแปรยังคงเป็นเช่นเดิม แตกต่างที่ตัวแปรกลุ่ม (group) หายไป
และมีตัวแปรด้านการรู้จักสถาบันพระปกเกล้า (Know KPI) และตัวแปรด้านการเข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบัน
พระปกเกล้า (participation) เข้าไปแทนที่ตัวแปรกลุ่ม ทั้งนี้เพราะการหาสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความเป็น
พลเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปกับปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองนั้นดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่างเดียวคือกลุ่มที่
ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งคนกลุ่มนี้จะสัมผัสกับกิจกรรม/โครงการที่แกนนำ
พลเมืองนำไปขยายผลเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่เท่านั้น ดังนั้น จึงใช้ตัวแปรเรื่องการรู้จัก
สถาบันพระปกเกล้าและการเข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบันพระปกเกล้าเข้ามาแทนที่เพื่อช่วยเพิ่มเติมคำอธิบายว่า
กรณีที่กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศเดียวกัน อายุใกล้เคียงกัน จำนวนปีที่ได้รับการศึกษาเท่ากัน อาชีพเดียวกัน
แตกต่างกันเพียงปัจจัยด้านการรู้จักสถาบันพระปกเกล้าและการเข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบันพระปกเกล้า
ซึ่งในที่นี้อนุมานว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปฏิบัติการเสริมสร้างพลเมืองในระยะที่สองของแกนนำพลเมืองนั้น
จะทำให้กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเป็นพลเมืองที่แตกต่างกันหรือไม่
นอกเหนือจากปัจจัยด้านการรู้จักและเข้าร่วมกิจกรรมข้างต้นแล้ว ตัวแปรที่เพิ่มเติมเข้าไปในชุดตัว
แปรนี้อีกส่วนหนึ่งก็คือตัวแปรด้านอำเภอนำร่องทั้ง 10 อำเภอ ในที่นี้กำหนดให้แทนด้วย Area 1 ถึง Area 9 โดย
กำหนดให้อำเภอที่มีค่าสัมประสิทธิ (coefficient) การเปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองในระดับกลางๆ
จำนวน 1 อำเภอเป็นอำเภออ้างอิง การวิเคราะห์จะนำตัวแปรทั้งหมดวิเคราะห์พร้อมกันด้วยโปรแกรม SPSS
ด้วยคำสั่ง regression เพื่อดูว่าอำเภอใดที่มีคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้น
เปลี่ยนแปลงไปในระดับมาก ปานกลาง และน้อยตามลำดับ อันจะสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองของแกนนำพลเมืองในระดับอำเภอว่ามีความสัมพันธ์กับคะแนนความเป็น
พลเมืองของประชากรตัวอย่างหรือไม่ในทิศทางใด อันจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพต่อไป
58