Page 65 - kpi21595
P. 65
สำหรับแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองด้านที่ 6 ให้เท่ากับ 10 สามารถใช้สูตรการแปลงคะแนนข้างต้น
ได้เช่นกัน โดยแทนค่าคะแนนความเป็นพลเมืองที่พึงได้ ด้วยคะแนนสูงสุดของความเป็นพลเมืองด้านนั้นๆคูณ
กับจำนวนคำถามซึ่งในที่นี้เท่ากับ 15 คะแนน (3 คะแนน X 5 ข้อ = 15 คะแนน) จากนั้น จึงนำค่าที่ได้ไปหาร
10 ก็จะได้ค่าที่จะนำไปใช้หารกับคะแนนความเป็นพลเมืองที่ได้จริง เพื่อแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองในด้าน
ที่ 6 ให้เท่ากับ 10 คะแนนต่อไป
สำหรับการแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองด้านที่ 7 และด้านที่ 8 นั้น ต้องกระทำการแปลงคะแนน 2
ชั้นเช่นกัน เนื่องจากมีชุดคำตอบ 6 ข้อ ประกอบด้วย
1 หมายถึง เคยทำมากกว่า 1 ครั้ง
2 หมายถึง เคยทำเพียงครั้งเดียว
3 หมายถึง ไม่เคยทำแต่อาจทำถ้าจำเป็น
4 หมายถึง ไม่เคยทำและจะไม่ทำเด็ดขาด
8 หมายถึง ไม่สามารถตอบได้
9 หมายถึง ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม
จากมาตรวัด 6 ตัวเลือกข้างต้น สามารถแปลงค่าคะแนนได้ดังนี้
1 หมายถึง เคยทำมากกว่า 1 ครั้ง ได้ 3 คะแนน
2 หมายถึง เคยทำเพียงครั้งเดียว ได้ 2 คะแนน
3 หมายถึง ไม่เคยทำแต่อาจทำถ้าจำเป็น ได้ 1 คะแนน
4 หมายถึง ไม่เคยทำและจะไม่จำเด็ดขาด ได้ 0 คะแนน
8 หมายถึง ไม่สามารถตอบได้ ได้ 0 คะแนน
9 หมายถึง ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม ได้ 0 คะแนน
ในกรณีที่ เมื่อพิจารณาคำถามแล้วพบว่ามีลักษณะเป็นเชิงลบ ผู้วิจัยจะแปลงคำตอบที่ได้ให้มีคะแนน
กลับกันดังนี้
1 หมายถึง เคยทำมากกว่า 1 ครั้ง ได้ 0 คะแนน
2 หมายถึง เคยทำเพียงครั้งเดียว ได้ 1 คะแนน
3 หมายถึง ไม่เคยทำแต่อาจทำถ้าจำเป็น ได้ 2 คะแนน
4 หมายถึง ไม่เคยทำและจะไม่จำเด็ดขาด ได้ 3 คะแนน
โดยคงค่าคะแนนสำหรับคำตอบที่ 8,9 ไว้ที่ 0 เช่นเดิมเนื่องจากเป็นคำตอบที่ไม่ได้วัดความเป็น
พลเมือง
สำหรับความเป็นพลเมืองด้านที่ 7 นั้น ไม่พบคำถามเชิงลบ แต่ความเป็นพลเมืองด้านที่ 8 นั้นมีคำถาม
เชิงลบ 1 ข้อ คือ คำถามข้อที่ 12 เรื่องการ “ใช้กำลังหรือความรุนแรงเพื่อผลทางการเมือง” จำเป็นต้องแปลง
คะแนนให้แก่คำตอบกลับกันเสียก่อน เมื่อกำหนดคะแนนให้แก่คำตอบแต่ละข้อแล้วจึงหาค่าเฉลี่ยรวมของ
พลเมืองแต่ละด้าน แล้วจึงทำให้คะแนนความเป็นพลเมืองที่ได้จริงมีค่าเท่ากับ 10 ต่อไปเช่นเดียวกับความเป็น
54