Page 62 - kpi21595
P. 62
การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อรวบรวมและตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามแล้ว ผู้วิจัยจะนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์
ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลต่อไป โดยจะบันทึกข้อมูลตามรหัสตัวเลขที่
กำหนดไว้ในแบบสอบถามลงในโปรแกรม SPSS จากนั้น วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลตามลำดับด้วยวิธีการทาง
สถิติ ประกอบด้วย คือ การหาค่าเฉลี่ย (mean) ความเป็นพลเมืองทั้ง 8 ด้าน การทดสอบคะแนนความเป็น
พลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นของกลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบก่อนและหลังมีปฏิบัติการเสริมสร้าง
พลังพลเมืองด้วยการทดสอบ T Test และทดสอบสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นคือโครงการปฏิบัติการ
เสริมสร้างพลังพลเมืองทั้งสองระยะเปรียบเทียบกับตัวแปรแทรกซ้อนในเรื่องของเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา
และ อาชีพ ด้วยสิถิติแบบถดถอย (regression statistic) เพื่อดูว่าคะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป
นั้นมีความสัมพันธ์กับตัวแปรต้นหรือตัวแปรแทรกซ้อนหรือไม่อย่างไรในลักษณะใด
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่แบบสอบถามชุดนี้มีความหลากหลายในเรื่องของคำถามและคำตอบ ทำให้
การวิเคราะห์ข้อมูลมีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือ ต้องมีการแปลงค่าคะแนนก่อนการรวมคะแนนความเป็น
พลเมืองทั้ง 8 ด้านและคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นในภาพรวมเสียก่อน
จึงจะสามารถวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติตามที่กล่าวไปด้านบนได้
สำหรับการแปลงคะแนนในชั้นแรกเพื่อหาคะแนนรวมของความเป็นพลเมืองในแต่ละด้านและพลเมือง
ตระหนักรู้และกระตือรือร้นนั้น จะพิจารณาจากลักษณะของคำถามและคำตอบที่กำหนดไว้เป็นหลัก ทำให้
วิธีการแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองแต่ละด้านแตกต่างกันออกไป และจากแบบสอบถามสามารถจัดกลุ่ม
คำตอบออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ คำถามที่มีคำตอบเป็น 10 ตัวเลือก คำถามที่มีคำตอบแบบถูก-ผิด และ
คำถามที่มีคำตอบแบบ 6-7 ตัวเลือก ดังนี้
คำถามลักษณะที่หนึ่ง เป็นคำถามที่มีชุดคำตอบเป็นคะแนนในการประเมินตนเองตั้งแต่ระดับ 1-10 ซึ่ง
กำหนดให้ 1 คะแนนแทนการเป็นพลเมืองน้อยที่สุด และ 10 คะแนนแทนการเป็นพลเมืองมากที่สุด สำหรับ
คำถามที่จัดอยู่ในกลุ่มคำตอบชุดนี้ประกอบด้วย พลเมืองด้านที่ 1 พลเมืองด้านที่ 4 และ พลเมืองด้านที่ 5
คำถามลักษณะที่สอง เป็นคำถามที่มีชุดคำตอบเป็นคะแนนประเมินตนเองด้วยกลุ่มคำตอบถูก-ผิด
เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งมีเพียงความเป็นพลเมืองด้านที่ 2 เท่านั้นที่มีมาตรวัดเช่นนี้
คำถามลักษณะที่สาม เป็นคำถามที่มีชุดคำตอบ 6-7 กลุ่มคำตอบ ประกอบด้วยชุดคำตอบประเภทที่ 1
คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง ค่อนข้างเห็นด้วย ค่อนข้างไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่สามารถตอบได้ และปฏิเสธ
ที่จะตอบคำถาม และชุดคำตอบประเภทที่ 2 คือ เคยทำมากกว่าหนึ่งครั้ง เคยทำเพียงหนึ่งครั้ง ไม่เคยทำแต่
อาจทำถ้าจำเป็น ไม่เคยทำและจะไม่ทำเด็ดขาด ไม่สามารถตอบได้ และปฏิเสธที่จะตอบคำถาม โดยกลุ่ม
คำถามที่จัดอยู่ในกลุ่มคำตอบประเภทนี้ประกอบด้วย พลเมืองด้านที่ 3 พลเมืองด้านทที่ 6 พลเมืองด้านที่ 7
และ พลเมืองด้านที่ 8
สำรหับวิธีการแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองนั้น ชั้นแรกจะเป็นการแปลงรหัสที่ระบุไว้ใน
แบบสอบถามให้เป็นคะแนนความเป็นพลเมืองที่สอดคล้องกับชุดคำถามและคำตอบ จากนั้น จึงเข้าสู่การแปลง
คะแนนชั้นที่สองด้วยการทำให้คะแนนความเป็นพลเมืองที่แปลงในชั้นแรกมีค่าเท่ากับ 10 เพื่อให้สามารถเทียบ
51