Page 61 - kpi21595
P. 61

ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงกับสถาบันพระปกเกล้านั้น ผู้วิจัยจะเก็บข้อมูล

               ก่อนและหลังมีปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองเช่นกัน โดยครั้งแรกผู้วิจัยจะเก็บแบบสอบถามกับกลุ่ม
               ตัวอย่างในปี 2559 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะแรก ก่อนที่แกนนำ

               พลเมืองจะขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่ จากนั้น จะเก็บแบบสอบถามชุดเดิมกับ

               กลุ่มเป้าหมายเดิมอีกครั้งในปี 2561 หลังจากแกนนำพลเมืองจาก 10 อำเภอนำร่องผ่านการอบรมความรู้เรื่อง
               บทบาทและความสำคัญของการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยจากสถาบันพระปกเกล้าเรียบร้อย

               ตลอดจนได้มีปฏิบัติการบางอย่างเพื่อขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองสู่ประชากรในระดับอำเภอของตน
               ตามกรอบการสร้างความเป็นพลเมืองที่วางไว้

                       อย่างไรก็ตาม การเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงกับสถาบัน

               พระปกเกล้านั้น อาจพบกับข้อจำกัดหลายประการ ประการแรก คือ เรื่องของการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งอาจ
               ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างที่สุ่มได้ไม่สามารถอ่านทำความเข้าใจและตอบแบบสอบถามได้ ประการที่สอง คือเรื่อง

               ของภาษาเขียน ซึ่งอาจส่งผลต่อความเข้าใจที่ผิดพลาดต่อคำถามและคำตอบ ประการที่สาม คือ ความตั้งใจใน
               การตอบแบบสอบถามและการตอบแบบสอบถามอย่างครบถ้วน ที่จะส่งผลต่อความครบถ้วนของข้อมูลและ

               การวิเคราะห์ข้อมูลในระยะต่อไป

                       ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้ผู้ช่วยวิจัยในพื้นที่ดำเนินการเก็บแบบสอบถามโดยใช้วิธีอ่านคำถามและ
               คำตอบให้แก่กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าแทนการส่งไปรษณีย์ไปยังที่อยู่

               ของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มได้ ซึ่งการใช้ผู้ช่วยวิจัยในพื้นที่เช่นนี้มีข้อดีอย่างน้อย 3 ประการ ประการแรก เพื่อแก้ไข

               ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของกลุ่มตัวอย่าง เพราะผู้ช่วยวิจัยในพื้นที่จะเป็นผู้อ่านแบบสอบถามให้กลุ่ม
               ตัวอย่างตอบ ประกอบกับผู้ช่วยวิจัยในพื้นที่สามารถใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารกับกลุ่มตัวอย่างได้ ซึ่งจะช่วย

               แก้ไขปัญหาการตีความความหมายของคำถามและคำตอบที่ผิดพลาด รวมไปถึงช่วยลดปัญหาการละเว้นตอบ
               คำถามในบางข้อลงได้ ประการที่สอง คนกลุ่มนี้มีความคุ้นเคยกับพื้นที่มากกว่าผู้วิจัยจึงสามารถค้นหาที่อยู่และ

               กลุ่มตัวอย่างได้รวดเร็วกว่าผู้วิจัย ประการที่สาม ด้วยเหตุที่ผู้ช่วยวิจัยเป็นคนในพื้นที่ ย่อมเป็นที่ไว้วางใจ

               มากกว่าคนภายนอกพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลต่อความเต็มใจในการให้ข้อมูล และอาจมีส่วนช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
               มากขึ้น

                       อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างมีมาตรฐานสามารถเปรียบเทียบกันได้ ผู้วิจัยจะจัดการ
               อบรมผู้ช่วยวิจัยในพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับคำถามและคำตอบของแบบสอบถามก่อน

               พร้อมทั้งทำข้อตกลงร่วมกันถึงแนวทางการถามคำถามเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเมื่อผู้ช่วยวิจัยเก็บ

               ข้อมูลได้จากผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อจริงหรือในบัญชีรายชื่อสำรอง ผู้ช่วย
               วิจัยจะต้องทำฐานข้อมูลไว้เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับจัดเก็บแบบสอบถามอีกครั้งในภายหลัง









                                                                                                        50
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66