Page 138 - 21736_Fulltext
P. 138
117
4. สร้างและขยายทีมผู้ไกล่เกลี่ยให้เพิ่มมากขึ้นทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
และในระดับมหาวิทยาลัย โดยให้รุ่นน้องเรียนรู้งานดังกล่าวจากรุ่นพี่ เมื่อรุ่นพี่สำเร็จการศึกษาไปรุ่น
น้องจะได้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ถ้าเป็นในระดับมหาวิทยาลัยอาจผลักดันให้มีผู้
ไกล่เกลี่ยที่เป็นนักศึกษาประจำแต่ละคณะร่วมกับผู้ไกล่เกลี่ยที่เป็นอาจารย์ เนื่องจากนักศึกษาจะมีวัย
ที่ใกล้เคียงกันและมีความเข้าอกเข้าใจกันเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามควรมีการสร้างระบบจูงใจให้กับผู้
ไกล่เกลี่ยที่เป็นนักเรียนที่เสียสละเข้ามาทำงานด้านนี้ เนื่องจากนักเรียนดังกล่าวเป็นจิตอาสาที่ใช้เวลา
ไปมากในการไกล่เกลี่ยทั้งก่อนการไกล่เกลี่ย ระหว่างการไกล่เกลี่ยและการติดตามผลการไกล่เกลี่ย
5. เน้นงานป้องกันความขัดแย้งด้านการสร้างสันติวัฒนธรรม การทำหน้าที่ในด้านการสร้าง
สันติวัฒนธรรม ไม่จำเป็นต้องเน้นทำงานเฉพาะด้านการไกล่เกลี่ย เนื่องจากบางสถานศึกษาในแต่ละ
ปีอาจแทบไม่มีเหตุทะเลาะวิวาท จึงอาจเน้นงานด้านการป้องกันความขัดแย้งเพื่อไม่ให้ความขัดแย้ง
รุนแรงเกิดขึ้น โดยเน้นไปในงานการเผยแพร่ รณรงค์ให้บุคลากรในสถานศึกษาสามารถอยู่ร่วมกันได้
ท่ามกลางความหลากหลาย ไม่ใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา ผ่านโครงการกิจกรรมในรูปแบบ
ต่างๆ เช่น การอบรม สื่อประชาสัมพันธ์ กิจกรรมทางศาสนา เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดเหตุความ
ขัดแย้งขึ้นมาศูนย์ไกล่เกลี่ยก็ต้องสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที เปรียบได้กับมี
รถดับเพลิงที่พร้อมใช้ดับเพลิงอยู่ตลอดเวลา
6. ข้อตกลงที่ได้จากการไกล่เกลี่ยควรมาจากการเสนอแนะและได้รับการยอมรับจากคู่กรณี
เพื่อให้รู้สึกเป็นเจ้าของและปฏิบัติตามข้อเสนอที่ฝ่ายตนได้เสนอแนะ อย่างไรก็ตามข้อเสนอจากคู่กรณี
ก็ควรมีความสอดคล้องกับกฎ กติกาของสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้ เช่น โทษทางวินัย เพื่อไม่ให้เกิด
ปัญหาว่าไกล่เกลี่ยแล้วไม่ต้องรับโทษอะไรเลย แต่หัวใจสำคัญคือความรู้สึกพึงพอใจ การยอมรับผิดกับ
สิ่งที่ได้กระทำไปและสามารถอยู่ร่วมกันได้ต่อไปในอนาคต ไม่กลับมาทำผิดซ้ำอีก โดยคู่กรณีที่ผ่านการ
ไกล่เกลี่ยแล้วอาจให้ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน
7. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสันติวัฒนธรรมและการไกล่เกลี่ยอย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวม
และส่งต่อข้อมูลให้รุ่นน้องต่อไปให้ได้ศึกษาว่าในอดีตนั้นเคยเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นแล้วรุ่นพี่ใช้วิธีการ
อย่างไรในการไกล่เกลี่ยเพื่อให้เกิดความสำเร็จ รวมถึงข้อมูลในทางสถิติจำนวนเหตุการณ์ความขัดแย้ง
ที่เคยเกิดขึ้นว่ามีจำนวนเท่าใด ยุติหรือไม่ยุติจำนวนเท่าใด