Page 136 - 21736_Fulltext
P. 136

115



                              5. การยึดมั่นในระบบความเชื่อ บาปกรรม เช่นเชื่อว่า ทำดีได้ดี มีผลต่อการไกล่เกลี่ย
                              6. ไม่จำเป็นต้องเจรจาในห้อง อาจจะเป็นสถานที่สงบร่มรื่น สถานที่ผ่อนคลาย ห้องเจรจา

                       ต้องมีบรรยากาศที่มีความพร้อม ไม่ร้อน อบอ้าว สะอาด เย็นสบาย

                              5.2.5 ทรัพยากร


                              1. งบประมาณ มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนโดยการให้งบประมาณในการไปศึกษาต่ออบรม
                       กับหน่วยงานภายนอก งบประมาณก็มีความสำคัญ งบประมาณมีความจำเป็นแต่ไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาด

                       เพื่อซื้อ ตู้เย็น/น้ำเย็น อาหาร ซื้อโต๊ะ เก้าอี้ ตุ๊กตา (สำหรับแจกให้กับเด็กที่มาไกล่เกลี่ย)
                              2. ระบบการจัดการที่ดีและสถานที่ไกล่เกลี่ยควรมีความเป็นส่วนตัว ไม่มีคนเดินพลุกพล่าน

                       ห้องไม่อึดอัด โล่ง ไม่วุ่นวาย มีแอร์เย็น ๆ มีสถานที่ไกล่เกลี่ยนอกจากนี้ควรมีห้องย่อยสำหรับรอการ

                       ไกล่เกลี่ยพร้อมโทรทัศน์ หนังสือ มีบอร์ดแผนภูมิขั้นตอนการไกล่เกลี่ย มีขั้นตอนการไกล่เกลี่ย มี
                       เอกสารและมีกฎหมายที่ชัดเจน

                              3. บุคลากรที่ทำหน้าที่ควรมีองค์ความรู้ด้านการไกล่เกลี่ยและเรื่องของการจัดการ
                       ทรัพยากรคนมีความสำคัญกว่าทรัพยากรเชิงกายภาพ เช่น เบี้ยเลี้ยง อาหาร ควรมีการส่งบุคลากรไป

                       อบรมเรื่องการไกล่เกลี่ย โดยมีงบประมาณในการส่งบุคลากรไปอบรม และการจัดการเทคโนโลยีด้าน

                       สื่อต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ย เพื่อความรู้และความเข้าใจ รวมถึงอบรมให้กับบุคลากรใน
                       โรงเรียนที่ไม่ได้เป็นคู่กรณีโดยตรงในด้านสันติวัฒนธรรม ผู้ไกล่เกลี่ยมีการทำงานเป็นทีม เช่น รูปแบบ

                       คณะทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมเป็นตัวช่วยกำกับ  ถ้าผู้ไกล่เกลี่ยคนเก่าออกไปแล้วมี

                       ตัวแทนต่อเนื่อง  สำหรับครู /หัวหน้าสถานศึกษามีผู้ทำหน้าที่ชัดเจน ครูด้วยกัน ครูด้วยกันต้องเข้าใจ
                       เรื่องระบบการไกล่เกลี่ย รวมถึงฝ่ายปกครองต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการไกล่เกลี่ย


                              5.2.6 องค์ความรู้และการเผยแพร่ความรู้

                              นอกจาก 5 ปัจจัยที่ได้กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นคนกลาง คู่กรณี การสร้างความสัมพันธ์และ

                       ไว้วางใจ บริบทสภาพแวดล้อม และทรัพยากรที่เพียงพอแล้ว  ยังมีปัจจัยองค์ความรู้และการเผยแพร่
                       ความรู้  ผู้บริหารเห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่อยู่ดี ๆ เราจะมีการไกล่เกลี่ยขึ้นมาโดยที่เราไม่รู้อะไรเลย ซึ่ง

                       การสนับสนุนทางวิชาการนั้น ได้มาจากศาล  จากสถาบันพระปกเกล้า จากหน่วยงานอื่น ๆ แต่ก็ต้อง
                       มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับโรงเรียน และเมื่อได้รับความรู้มาแล้ว สิ่งสำคัญ คือ การให้ความรู้กับนักเรียน

                       และครูอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่เฉพาะตัวผู้ไกล่เกลี่ย เพราะการทำประชาสัมพันธ์ก็เป็นเรื่องสำคัญ

                       ก่อนหน้าที่จะมีการไกล่เกลี่ยนั้นก็มีการประชาสัมพันธ์กับนักเรียน ประชุมทุกระดับและให้ความรู้
                       นักเรียนเข้าใจและยอมรับกระบวนการไกล่เกลี่ยได้มากขึ้น
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141