Page 157 - 21736_Fulltext
P. 157
136
ไปได้ นักเรียนกล้าพูดมากขึ้นว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง คือ ถ้าอาจารย์เป็นคนพิจารณาเขาจะไม่บอก
เพราะมีคนเกี่ยวข้องด้วยหลายคน เค้าจะเก็บไปเคลียร์กันเอง วิธีการเคลียร์ของเค้าก็คือการไปมีเรื่อง
กันอีก เราถามว่าถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นจะทำอย่างไร พูดกันง่ายๆ คือ ถ้าเค้าเคลียร์กันเองต้องถูกให้ออก
แน่ๆ เพราะแต่ละคนนั้นก็มีเรื่องเดิมอยู่เยอะ อย่างที่บอกว่าหัวโจกนั้นเว้นจากการมีเรื่องมาได้ 2 ปี
แล้ว มีเรื่องตอน ม.4 แล้วไปมีเรื่องตอน ม.6 ใกล้จบแล้ว ถ้าเค้าโดนตรงนั้นอีกทีก็ถูกให้ออกแน่ๆ มันก็
เหมือนการช่วยกันทำให้เค้าได้จบ อย่างเรื่องที่แล้วนั้นพอเข้าศูนย์ไกล่เกลี่ย นักเรียนตามตัวได้ค่อนข้าง
ครบ
ถาม: ทำไมนักเรียนสามารถตามคนเข้ามาไกล่เกลี่ยได้ดีกว่าอาจารย์
ประธานสภานักเรียน:
ด้วยความเป็นนักเรียน ถ้าต้องเข้าห้องปกครองทุกคนจะกลัวหมด ถ้าครูไปตามจะไม่มา จะ
รู้สึกว่าไม่ปลอดภัย พูดอะไรไม่ได้ทั้งหมด ถ้านักเรียนไปตามจะรู้ว่าไม่ต้องเข้าห้องปกครอง ต้องคุยกัน
ก่อน เค้าจะพยายามพูดทั้งหมดถึงเรื่องที่ขัดแย้งกันมาตั้งแต่อดีต เหมือนเขาไว้ใจเรา เพราะผู้ไกล่เกลี่ย
เค้าจะไม่พูดให้บุคคลภายนอกฟัง ทำให้เราได้รู้ว่าปมของปัญหานั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ โดยประธานศูนย์
ไกล่เกลี่ย จะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ย และมีผู้ไกล่เกลี่ยอีก 1 คนที่เข้ามาทำงานคู่กัน และมีรุ่น
น้องเข้าไปสังเกตการณ์ระบบในการไกล่เกลี่ยว่ามีขั้นตอนอย่างไร ที่ผ่านมายังไม่ค่อยเป็นระบบ ถ้ามี
เรื่องกันก็จะมีการแจ้งว่าต้องการไกล่เกลี่ย เข้าไปห้องไกล่เกลี่ย ซึ่งห้องตอนนั้นก็ค่อนข้างเป็นอุปสรรค
เช่นกัน ทำให้มีคนแอบฟังแล้วเอาไปพูดต่อ ทำให้ความจริงถูกบิดเบือนไปเยอะ คือ ถ้าเกิดเหตุการณ์
ทะเลาะวิวาททางโรงเรียนจะรู้เพราะว่านานๆ จะเกิดขึ้นที ทุกคนจะสนใจว่าเรื่องนี้จะจบอย่างไร ซึ่ง
ห้องไกล่เกลี่ยที่ใช้จะเป็นห้องสภานักเรียน ละ 1 ใน 4 ของห้องนั้นจะเป็นส่วนที่ใช้ในการไกล่เกลี่ยอยู่
ด้านใน จะเป็นส่วนที่มิดชิด ข้างหลังมีรั้วกั้น ไม่สามารถที่จะมีคนแอบฟังได้ ในปีนี้มีการจัดการระบบ
ใหม่ ทำให้เป็นมาตรฐานว่า
1. หากเกิดเรื่อง ขั้นตอนแรกผู้ที่ต้องการไกล่เกลี่ยต้องยื่นคำร้องไปที่ห้องปกครอง โดยดูจาก
เกณฑ์ฐานความผิด 7 ฐานว่าอยู่ฐานใด
2. อาจารย์ฝ่ายปกครองจะพิจารณาว่าเรื่องนี้ให้ใช้วิธีการไกล่เกลี่ยได้หรือไม่
3. หากไกล่เกลี่ยได้ก็จะตั้งผู้ไกล่เกลี่ยขึ้นมา 2 ท่าน
4. พูดคุยกับผู้ไกล่เกลี่ยว่าเรื่องนี้ทำได้หรือไม่ และรู้จักกับคู่กรณีหรือไม่ หากรู้จักกันก็ต้อง
เปลี่ยนผู้ไกล่เกลี่ย เพื่อป้องกันการมเป็นกลาง
5. การไกล่เกลี่ยจะทำหลังเลิกเรียนเพื่อไมให้กระทบการเรียน
6. เมื่อไกล่เกลี่ยเสร็จแล้ว ผู้ไกล่เกลี่ยจะทำบันทึกข้อความ
7. หากไกล่เกลี่ยไม่ได้จะส่งเรื่องไปยังฝ่ายปกครอง ถือว่าเรื่องนี้ไม่ได้ไกล่เกลี่ย และผู้ไกล่เกลี่ย
ทำบันทึกข้อความส่งเพื่อดูว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร