Page 33 - 21736_Fulltext
P. 33

12



                                   2.1.1.3 เหตุผลและแรงจูงใจในการใช้การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง

                                   เหตุผลและแรงจูงใจในการเลือกใช้วิธีการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง  ระหว่างคนกลางและ

                       คู่กรณี มีความแตกต่างกันไปในหลายประเด็น  ทั้งประเด็นการใช้  ระยะเวลาในการไกล่เกลี่ยโดยคน
                       กลาง ความเสี่ยงในผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม Bercovitch (2009) เห็นว่าการไกล่เกลี่ยโดย

                       คนกลางระหว่างประเทศจะถูกเลือกใช้ได้มากกว่าวิธีการอื่นเมื่อ 1) ความขัดแย้งยาวนานหรือซับซ้อน
                       2) คู่กรณีมาถึงทางตัน 3) คู่กรณีเห็นว่าเกิดต้นทุนและการสูญเสียที่มากพอแล้วและ 4) คู่กรณีเตรียม

                       ตัวจะร่วมมือกันยุติสถานการณ์ที่ยุ่งยาก

                                   1) แรงจูงใจของคนกลาง


                                   คนกลางแต่ละคนมีแรงจูงใจที่แตกต่างกันออกไป ทำไมคนกลางจึงต้องการให้เกิดการ
                       พูดคุยกันขึ้น  ถ้าเป็นแรงจูงใจในการไกล่เกลี่ยในระดับปัจเจกบุคคล   อาจประกอบไปด้วยความ

                       ต้องการ 1) ใช้เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งที่ขยายตัวหรือเกิดขึ้นยาวนาน 2)

                       เผยแพร่ความคิดของตนเอง เพื่อแสดงสถานะความเป็นมืออาชีพ 3) การได้รับการยอมรับจากสังคม
                       ในสถานะของคนกลาง 4) รู้สึกว่าเกิดความภูมิใจในความสำเร็จเมื่อคู่กรณีตกลงกันได้และ 5)

                       ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการไกล่เกลี่ย เช่นค่าตอบแทน เป็นต้น สำหรับแรงจูงใจของคนกลางในการ
                       ไกล่เกลี่ยในระดับรัฐบาลหรือองค์กร  อาจประกอบด้วย 1) เล็งเห็นว่าความขัดแย้งที่ต่อเนื่องต่อไป

                       อาจจะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตนและสังคม 2) อาจได้รับการร้องขอจาก

                       คู่กรณีหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้มาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย 3) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศตนเอง
                       และ 4) เพื่อแสดงว่าตนเองมีบทบาทได้รับการยอมรับจากนานาชาติ


                                   2) แรงจูงใจของคู่กรณี

                                   คู่กรณีทั้งในระดับปัจเจกและระดับรัฐต่างก็มีแรงจูงใจในการเข้าร่วมการไกล่เกลี่ยซึ่งมี

                       ทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน คือ 1) การไกล่เกลี่ยอาจจะช่วยพวกเขาให้ลดความเสี่ยงในการ
                       ขยายตัวของความขัดแย้ง และอาจนำไปสู่ข้อตกลงร่วมกัน 2) แต่ละฝ่ายหวังว่าคนกลางจะช่วยให้ตนมี


                       อิทธิพลเหนืออีกฝ่าย  เช่นเดียวกับที่ Mayer (2000) เน้นแรงจูงใจของคู่กรณีในประเด็นคู่กรณี
                       ต้องการให้นักไกล่เกลี่ยช่วยให้ตนเองบรรลุความต้องการ โดยเป็นจุดเน้นมากที่สุดเพื่อช่วยเหลือ
                       ตนเอง คู่กรณีต้องการให้นักไกล่เกลี่ยหาวิธีการสร้างความกดดันให้อีกฝ่ายเพื่อให้ประนีประนอมและ

                       ทำข้อตกลง 3) การไกล่เกลี่ยจะเป็นการสื่อสารต่อสาธารณะว่าพวกเขาจัดการความขัดแย้งด้วย
                       แนวทางสันติ ไม่ได้เป็นผู้ก้าวร้าวรุนแรง 4) ต้องการให้คนนอกเข้ามาช่วยประณามว่าความพยายาม

                       การสร้างสันติภาพล้มเหลวและ 5) เพื่อให้ผู้ไกล่เกลี่ยสามารถเข้าไปตรวจสอบ และให้หลักประกันว่า

                       จะนำมาสู่ข้อตกลง
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38