Page 28 - 21736_Fulltext
P. 28
8
Wilmot & Hocker (2007) เห็นว่าคนกลางไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ แต่จะช่วยให้คู่กรณีมองหา
ช่องทาง ประสานความแตกต่างและหาแนวทางและข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกันโดยคู่กรณี นอกจากนี้
การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางเป็นศิลปะในการเปลี่ยนแปลงจุดยืนของแต่ละฝ่าย มาสู่การยอมรับร่วมกัน
การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง (Mediation) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการกับความขัดแย้ง
และความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการพูดคุยกันอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนมีศิลปะในการพูดคุยกัน
ภายใต้บรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้เกิด มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้คนที่ขัดแย้งกันสามารถมา
เผชิญหน้ากันได้เมื่อถึงจุดหรือสถานการณ์ที่เหมาะสม และเป็นการพูดคุยที่เป็นการไกล่เกลี่ย ไม่เกลี้ย
กล่อม ตะล่อม ข่มขู่ และบังคับ แต่เป็นกระบวนการของความสมัครใจ และเกิดการยอมรับจากคู่กรณี
เป็นการพูดคุยที่บรรลุเป้าหมายทั้ง 3 มุมที่ควรจะเป็น กล่าวคือ บรรลุเป้าหมาย (เนื้อหา) ที่ชัดเจน
ร่วมกัน มีกระบวนการที่ยอมรับร่วมกัน และเกิดสัมพันธภาพต่อกันอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
สัมพันธภาพอย่างยั่งยืนมีความสำคัญ มิใช่การเน้นแต่เพียงการทำบันทึกข้อตกลงแต่ละเลย
ความสัมพันธ์อันดีต่อกัน มิเช่นนั้นก็จะประสบปัญหา ดังที่ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, (2546) กล่าวว่า
“สนธิสัญญาสันติภาพหรือข้อตกลงสันติภาพนั้น มิได้เป็นการแก้ไขปัญหา หากเป็นเพียง “แช่เย็น”
ความขัดแย้งไว้ชั่วคราวเพื่อให้เกิดโอกาสในการเจรจาหาลู่ทางแก้ไขปัญหาอื่นๆ ต่อไป”
ภาพที่ 2.1 เป็นการอธิบายถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง จะมีคู่กรณี
คือ ก) กับ ข) เป็นคู่ขัดแย้งกัน และมีคนกลางเข้ามาทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้มีการ
พูดคุยกันเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างคู่กรณี ในรูปภาพนี้จะเห็นได้ว่าในการสื่อสารทำได้ทั้ง 2
ช่องทาง ระหว่างช่องทางแรก ก) กับ ข) สื่อสารกันโดยตรง และ ก) กับ ข) สื่อสารกันผ่านคนกลาง
แต่ในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางคู่กรณีอาจจะไม่สะดวกใจที่พูดคุยกันเองในช่วงเริ่มต้น จึงจำเป็นต้อง
ให้คนกลางทำหน้าที่เป็นหลักเพื่ออำนวยความสะดวกในการสนทนา
ก) ข)
คนกลาง
ภาพที่ 2.1 การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง จาก Wilmot & Hocker, 2007: 281