Page 38 - 21736_Fulltext
P. 38

17



                                   หน้าที่ที่สำคัญของคนกลางคือทำให้คู่กรณีหรือผู้ที่มั่นใจว่าเหนือกว่าทบทวนให้ได้ว่าจะ
                       ชนะแน่นอนอย่างที่คิดไว้หรือไม่ การไกล่เกลี่ยอาจจะดีกว่าวิธีการอื่นที่เขาคิดเอาไว้


                                   4) การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางบางคนอาจจะไม่ได้เน้นที่ความสัมพันธ์อันดี แต่มุ่งเน้นให้
                       ทำบันทึกข้อตกลง เพื่อเป็นการสร้างผลงานให้กับผู้ไกล่เกลี่ยบางท่าน ว่าสามารถไกล่เกลี่ยได้สำเร็จ


                                   คำถามคือปัญหายุติได้จริงๆ หรือเป็นการซุกปัญหาไว้ใต้พรม ผู้ไกล่เกลี่ยในศาล
                       ยุติธรรม จำนวนหนึ่งรู้สึกภูมิใจเมื่อกล่าวว่าตนเองไกล่เกลี่ยสำเร็จโดยนับจากสถิติที่ยุติเรื่องได้ แต่

                       ข้อตกลงที่ได้ถ้าพิจารณาลึกซึ้งลงไปจะเห็นว่าสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่มาก
                       เท่าที่ควร


                                   5) คู่กรณีหรือผู้ที่เกี่ยวข้องความรู้สึกว่าเป็นการผูกมัด จึงไม่อยากเข้าสู่กระบวนการ
                       ไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง


                                   การไม่อยากเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง เนื่องจากเห็นว่าการไกล่เกลี่ยโดย
                       คนกลางจะนำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันในลักษะต่างๆ และอาจไม่มั่นใจว่าตนเองจะได้รับในสิ่งที่ต้องการ

                       หรือตกอยู่ในสภาพของการแพ้-ชนะ

                                   6) คู่กรณีไม่อยากพูดคุยกับคนที่ตนเองเห็นว่าเป็นศัตรูหรือในกรณีที่มีความสัมพันธ์

                       แตกร้าว รวมถึง มั่นใจว่าตนเองได้เปรียบมากกว่าในการใช้วิธีการอื่นเช่น การฟ้องร้อง

                                   Wilmot & Hocker (2007) เห็นว่าความขัดแย้งที่ขยายตัวเป็นความรุนแรง อาจไม่

                       เพียงพอในการใช้การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางเท่านั้น แต่ต้องใช้กระบวนการที่ละเอียดอ่อนเข้ามา
                       ผสมผสานด้วยกระบวนการสร้างความสมานฉันท์ (Reconciliation) เพื่อให้เกิดการฟื้นคืนดี โดย

                       กระบวนการที่สำคัญคือ การทำให้คู่กรณีสำนึกรับผิดว่าได้ทำผิดไปแล้ว การแสดงความรับผิดชอบต่อ

                       สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการเยียวยาทั้งทางใจและสิ่งของ เงินทอง คำพูดขอโทษ การให้หลักประกันว่าจะไม่ทำ
                       ผิดอีกในอนาคต จากนั้นก็จะนำมาสู่การให้อภัย


                                   7) การไม่เข้าใจในวัฒนธรรมของคนอื่นหรือเหมารวมว่าเข้าใจวัฒนธรรมฝ่ายอื่นเป็น
                       อย่างดี


                                   การเหมารวมว่าเข้าใจวัฒนธรรมฝ่ายอื่นอาจเกิดการ “ตีตรา” (Stereotype) ที่
                       ผิดพลาดได้ เช่น เห็นคนไทยบางคนเน้นการเคารพผู้อาวุโส ก็เหมารวมว่าคนไทยทุกคนต้องเคารพใน

                       ผู้ใหญ่ ที่จริงอาจมีบางคนไม่ได้เป็นเช่นนั้น
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43