Page 30 - 21736_Fulltext
P. 30
10
อำนวยการประชุม ความเป็นกลาง
ความหมายของคนกลาง
การยอมรับจากคู่กรณีต่อคนกลาง
ภาพที่ 2.2 ความหมายของการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง จาก การสังเคราะห์โดยผู้เขียน
2.1.1.2 การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางกับการแก้ไขความขัดแย้ง
การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางมีความสัมพันธ์กับการแก้ไขความขัดแย้งโดยการใช้บุคคลที่
สาม หรือคนที่เป็นกลางเข้ามาเอื้อกระบวนการ ความเชื่อของการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางคือ “ข้อตกลง
ที่ดีที่สุดย่อมมาจากคู่กรณีเอง” ดีกว่าให้คนอื่นเข้ามาตัดสิน (Coltri, 2004) เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน
มากขึ้นว่าการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางมีความแตกต่างกับการจัดการความขัดแย้งแบบอื่นๆอย่างไร
ภาพที่ 2.3 Moore (1984) อธิบายถึงอำนาจตัดสินใจของบุคคลที่สามกับผลลัพธ์ที่ได้
แบ่งได้เป็น 4 ระดับคือ
1) การตัดสินใจโดยกลุ่มผู้เกี่ยวข้องเอง ประกอบด้วย การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง อาจ
ยังไม่พร้อมในการเจรจา หรือไม่อยากเผชิญหน้า แต่เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือคู่เจรจาคิดว่า
จำเป็นต้องแก้ไขความขัดแย้งด้วยการพูดคุย ก็จะเกิดการเจรจากันเองทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็น
ทางการ
2) การตัดสินใจโดยบุคคลที่สาม ในกรณีที่มีความขัดแย้งสูง มีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามา
เกี่ยวข้องมาก เกิดความบาดหมาง คู่กรณีไม่สามารถพูดคุยกันได้เองโดยตรง หรือเกิดความไม่ไว้ใจซึ่ง
กันและกันก็จะต้องอาศัยฝ่ายที่สาม หรือคนกลางเข้ามาช่วยดำเนินกระบวนการ วิธีการดังกล่าว
อำนาจตัดสินใจอยู่ที่คู่กรณี แต่ถ้าเป็นการตัดสินใจในเชิงบริหารที่เกิดความขัดแย้งในองค์กรผู้บริหารก็
อาจตัดสินใจเอง แม้กระทั่งการใช้อนุญาโตตุลาการ ก็เป็นการชี้ขาดโดยคนกลางที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
3) การตัดสินใจโดยบุคคลที่สามโดยเจ้าหน้าที่ทางการ นอกจากนี้ยังมีการใช้
กระบวนการทางศาลยุติธรรม ดำเนินคดีฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม ให้ผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ผลที่
ได้ออกมาก็จะมีผู้ชนะและผู้แพ้ อีกวิธีคือการออกกฎหมายซึ่งทำโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นการตัดสิน
โดยบุคคลที่สามที่มีความเป็นทางการมากกว่าระดับที่ 2
4) การใช้อำนาจบังคับ แบ่งได้ 2 วิธี วิธีแรกใช้แนวทางสันติวิธี เป็นวิธีการที่ไม่ใช้กำลัง
แต่ต้องการให้บรรลุในเป้าหมายของตน และวิธีที่สองเป็นการใช้กำลัง เช่น การทหาร การใช้อาวุธจาก
กลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน เป็นต้น